
สาขาวิชาการจัดการ
เมื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลรับผิดชอบงานด้านการวางแผนกลยุทธ์ การวางนโยบายธุรกิจ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ในองค์กร การควบคุมคุณภาพภายในองค์กร การจัดระบบการทำงาน นักศึกษาจะมีความมั่นใจในตนเอง มีทักษะการเป็นผู้นำ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ เป็นที่ต้องการขององค์กรภาครัฐและเอกชน
- งานด้านการบริหารจัดการฝ่ายต่าง ๆ ภายในองค์กร นักบริหาร นักธุรกิจ (ผู้จัดการการดำเนินงาน)
- งานด้านการควบคุมคุณภาพภายในองค์กร การควบคุมอุตสาหกรรม (ผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ ผู้ควบคุมคุณภาพ)
- งานด้านที่ปรึกษาขององค์กร (นักวิเคราะห์ธุรกิจ)
- นักวิจัยธุรกิจ นักวางแผนพัฒนาธุรกิจ ทางด้านผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ (นวัตกร)
- งานด้านธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
- งานด้านการวางแผนกลยุทธ์ นโยบายหรือการจัดการความรู้ (นักวางแผนกลยุทธ์)

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
โอกาสในการประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาค่อนข้างเปิดกว้างและเป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะการเปิดเสรีทางการค้าที่ทำให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ ทำให้นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถมีเส้นทางในการประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการนำเข้าและส่งออก การปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านการค้าและธุรกิจระหว่างประเทศ พนักงานประจำสถาบันการเงิน ฝ่ายการเงินและสินเชื่อระหว่างประเทศ อีกทั้งยังมีความชำนาญในการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจระหว่างประเทศ และเป็นนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจควบคู่กับการใช้ภาษาต่างประเทศ สามารถเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจส่งออก นำเข้าขนส่งสินค้า ตัวแทนขนส่งสินค้า ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (มุ่งเน้นธุรกิจจีน)
- บริษัทนำเข้า-ส่งออก และบริษัทที่ดำเนินธุรกิจระหว่างไทย-จีน
- การปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านการค้าและธุรกิจระหว่างประเทศ
- ฝ่ายนำเข้า-ส่งออก
- ฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ
- ฝ่ายการตลาดต่างประเทศ
- เจ้าของธุรกิจนำเข้าสินค้าระหว่างไทย-จีน
- นักเจรจาต่อรองธุรกิจ
- พนักงานองค์กรด้านการส่งออก ทั้งภาครัฐและเอกชน

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปประกอบอาชีพในสายงานโลจิสติกส์ได้ เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นักวางแผนวัตถุดิบการผลิตหรือการกระจายสินค้า นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ (Logistics Analyst) หรือรับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการให้บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น

สาขาวิชาการตลาด
บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาการตลาดจะมีความเข้าใจโลกของตลาดอย่างแท้จริง ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรของรัฐ และองค์การด้านสังคมต่าง ๆ ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับงานการตลาด เช่น การขาย การบริการ การบริหารผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า การบริหารศูนย์การค้า ลูกค้าสัมพันธ์ การวิจัยการตลาด การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงหน้าที่ของการจัดซื้อและการพาณิชย์อิเล็กทรอกนิกส์

สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
- นักบริหารเว็บไซต์ (Website manager)
- นักบริหารจัดการการตลาดแบบเน้นเนื้อหา (Content marketing manager)
- นักวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบบูรณาการ (Integrated marketing strategist)
- นักจัดทำและคัดเลือกเนื้อหาดิจิตอล (Digital content editor/curator)
- นักบริหารและวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics manager)
- นักวิเคราะห์และทำความเข้าใจลูกค้า (Customer journey/experience)
- นักบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer relationship manager)
- Digital Marketing Executive/Planner Manager/CMO (นักการตลาดดิจิทัล)
- นักออกแบบเนื้อหาและโฆษณาการตลาด (Digital Content Editor/CreatorDigital Content Strategist)
- นักวิจัยการตลาด (Market Research Analyst)
- นักสร้างแบรนด์ดิจิทัล/นักวางกลยุทธ์แบรนด์ดิจิทัล (Digital Brand Executive/Strategist/Manager/CBO)
- นักวางแผนกลยุทธ์สื่อดิจิทัล (CRM Officer/Manager Event Creator/Manager Digital &Social Media Planner/Strategist)
- เจ้าหน้าที่บริหารงานลูกค้า สายธุรกิจโฆษณาและสื่อดิจิทัล (AE/AM/AD)
- นักวิเคราะห์และวางแผนข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค (Market &Consumer Data Scientist/Analyst)

สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน
- นักวางแผนการเงิน
- ที่ปรึกษาการลงทุน
- ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์
- นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
- วาณิชธนากร
- ผู้จัดการกองทุน

สาขาวิชาการเงิน
สามารถประกอบอาชีพด้านการเงินและการลงทุนในองค์กรภาครัฐและเอกชนได้หลากหลายตำแหน่งงาน อาทิ
- พนักงานฝ่ายการเงิน
- พนักงานบริหารสินเชื่อ
- เจ้าหน้าที่บริหารเงิน
- นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
- เจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าสินเชื่อ
- เจ้าหน้าที่ด้านการบริหารความเสี่ยง
- เจ้าหน้าที่พัฒนาตลาดพันธบัตร
- เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- เจ้าหน้าที่ประเมินราคาสินทรัพย์
- เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงบประมาณแผ่นดิน