ม.กรุงเทพ เล็งเห็นความสำคัญของ การจัดการโลจิสติกส์ ศาสตร์ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและเป็นกลไกสำคัญในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จึงออกแบบหลักสูตรที่เปิดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์อย่างรอบด้าน ทั้งการวิเคราะห์และวางแผนด้านการจัดการโลจิสติกส์ แนวทางการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ขององค์กรต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เกับงานทางด้านการบริหารและจัดการองค์กร ตั้งแต่ออกแบบระบบขนส่ง การเก็บคลังสินค้า และการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักศึกษาจะมีโอกาสได้ฝึกงานกับองค์กรจริง ด้วยโจทย์จริงในการทำธุรกิจแล้ว เรายังมีโครงการ OSP ที่จะคัดเลือกนักศึกษาที่พร้อมเรียนรู้ในหลักสูตรที่เข้มข้น มีการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเตรียมตัวเพื่อใบคุณวุฒิทางด้านโลจิสติกส์ เช่นใบรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพจากสมาคม TACBA
ทำไมต้องเรียนสาขานี้
- ครอบคลุมเนื้อหาโลจิสติกส์แบบครบวงจร ทั้งการวิเคราะห์และวางแผนด้านการจัดการโลจิสติกส์
- แนวทางการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ขององค์กรต่างๆ
- หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ทันสมัย ด้วยการใช้เทคโนโลยี เช่น Al และ ข้อมูล Big Data เป็นต้น
- เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเลือกวิชาเรียนได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการจัดการโลจิสติกส์สำหรับภาคธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ และกลุ่มการจัดการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีโลจิสติกส์เพื่ออุตสาหกรรม
- อาจารย์ประจำที่มีความเชี่ยวชาญ และอาจารย์พิเศษ วิทยากรจากองค์กรชั้นนำต่างๆ
- เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเตรียมตัว เพื่อใบคุณวุฒิทางต้านโลจิสติกส์ เช่น ใบรับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพจากสมาคม TACBA
- มีพันธมิตรที่เข้มแข็งพร้อมที่จะสามารถส่งเสริมในการสร้างนักโลจิสติกส์มืออาชีพ
สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในด้านโลจิสติกส์ และต้องการศึกษาต่อที่ ม.กรุงเทพ ก็สามารถเรียนจบได้ภายในเวลา 2 ปี โดยการเทียบโอนหน่วยกิตเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีได้
stories
ทำอาชีพอะไร
- ตัวแทนออกของ ผู้นำเข้าส่งออกสินค้า ทั้งทางอากาศ เรือ และ ถนน
- นักวางแผนจัดซื้อและจัดหาวัตถุดิบ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ เป็นต้น
- นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีกรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สำนักธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า) เป็นต้น
- นักวิชาการ หรือนักวิจัยในสายโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- เจ้าของธุรกิจส่วนตัว นำเข้า-ส่งออกสินค้า
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- การจัดการเพื่อการส่งออกและนำเข้า
- การจัดการท่าเรือและเทอร์มินัล
- การจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
- การจัดการโลจิสติกส์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และโซ่อุปทานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
- การจัดการการบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจระดับโลก
กลุ่มการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีโลจิสติกส์เพื่ออุตสาหกรรม
- การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการจัดการโลจิสติกส์
- การประกันภัยเพื่อการดำเนินงานโลจิสติกส์
- การวิเคราะห์และจัดทำแผนธุรกิจเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
- การจัดการยานพาหนะ
- การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างชาญฉลาดสำหรับธุรกิจทางโลจิสติกส์