Featured Stories
คณะบริหารธุรกิจ — ข่าวสารและบทความ — รู้จักสายงานโลจิสติกส์ให้มากขึ้น สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?โลจิสติกส์ สายอาชีพที่ไม่ได้มีเพียงแค่การขนส่งเท่านั้น ก่อนเลือกเรียนในคณะที่เกี่ยวข้องมาทำความเข้าใจกับสายอาชีพนี้กันก่อน โดยสายอาชีพนี้จะทำงานในวงการระบบขนส่งหรือเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ สินค้า บริการ ทั้งทางภาคพื้น อากาศ เรือระบบขนส่งทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ระดับนานาชาติ แตกต่างกันไปตามแต่ละสายงาน
โอกาสการเติบโตยังคงมีต่อเนื่อง เพราะประเทศไทยต้องมีระบบขนส่งทั้งนำเข้า-ส่งออก และการบริการที่เกี่ยวข้อง เป็นอีกหนึ่งสายอาชีพที่น่าสนใจสำหรับคนรุ่นใหม่มาก
อยากทำงานในวงการนี้เลือกเรียน สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์รอบด้าน ทั้งการวิเคราะห์และวางแผนด้านการจัดการโลจิสติกส์ การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ขององค์กรต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในการบริหารองค์กรและพัฒนาบริการให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมอัปเดตหลักสูตรทันสมัยด้วยการใช้เทคโนโลยี เช่น Al และ ข้อมูล Big Data เป็นต้น เรียนจบจะทำอาชีพแบบไหน มีหน้าที่อะไรบ้าง ตามไปเก็บข้อมูลกันเลย รวมทั้งฝึกฝนความรู้ผ่านโปรแกรมจำลอง ไม่ว่าจะเป็นการจำลองทำธุรกิจ ผ่าน MonsoonSIM หรือ การจำลองทางด้านการจัดการคลังสินค้า และการขนส่ง ด้วย โปรแกรม Flexsim เป็นต้น
เจ้าหน้าที่ด้านการขนส่ง
เรียนรู้และวางแผนการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นทางถนน อากาศ หรือทะเล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะต้องฝึกการประสานงานกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หรือ เอกชน หรือ ต้องมีการวางแผนการขนส่งที่ทำให้เกิดต้นทุนต่ำที่สุด หรือ เหมาะสมที่สุด เพราะจะเป็นการลดต้นทุนรวมขององค์กรได้ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักการวางแผนการรองรับในสถานการณ์ไม่ปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันนั่นเอง
เจ้าหน้าที่
ด้านการจัดการคลังสินค้า
เรียนรู้การบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง ที่ทำให้กับบริษัทของลูกค้า หรือ เจ้าของธุรกิจเอง เพื่อบริหารต้นทุนสินค้าให้เหมาะสมกับความต้องการของสินค้า รวมทั้งยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยมีต้นทุนในการดำเนินการที่เหมาะสม และมีความยืดหยุ่นในการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในยุคปัจจุบัน
ผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้า
มีหน้าที่ดูแล ควบคุม และตรวจสอบการรับส่งสินค้าหรือบริการ ทั้งทางอากาศ เรือ และ ถนน โดยต้องรู้เส้นทางและวิธีการขนส่ง รายละเอียดการส่ง ค่าส่ง พร้อมตัดสินใจเลือกวิธีส่งที่ดีที่สุดหรือตอบโจทย์กับสินค้า เช่น สินค้าที่มีอายุสั้น สินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ พร้อมตรวจสอบสินค้าก่อนรับส่ง หน้าที่นี้ต้องมีความละเอียดรอบคอบ หากทำงานในบริษัทขนส่งใหญ่ มีสินค้าหลายหมื่นชิ้นก็ต้องรอบคอบมากๆ หรือ เป็นตัวแทนนำเข้าส่งออก ซึ่งทำหน้าที่บริการให้กับลูกค้า โดยจะได้นำความรู้ทางด้านกฎหมาย การประกันภัย และภาษีมาใช้ในการทำงานจริง
นักวางแผนจัดซื้อ
และจัดหาวัตถุดิบ
สายวางแผนและจัดการอาชีพนี้เหมาะมาก ชื่อตำแหน่งค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบฝ่าย Supply Chain (ห่วงโซ่อุปทาน) และโลจิสติกส์ เป็นต้น หน้าที่หลักคือการวางแผนเลือกซื้อและค้นหาแหล่งวัตถุดิบที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งต้องมีสกิลของการต่อรอง การค้นหา เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ดีในราคาคุ้มค่าและตรงตามโจทย์ของลูกค้า
เจ้าของธุรกิจส่วนตัว
นำเข้า-ส่งออกสินค้า
อาชีพอิสระที่หลายคนฝันไว้ “เจ้าของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก” หน้าที่หลักคือการบริหารองค์กรให้ดำเนินกิจการต่อไป สามารถทำได้ตั้งแต่การนำเข้าสินค้ารายย่อยเพื่อนำเข้ามาค้าขายเอง หรือสินค้าล็อตใหญ่ที่ต้องกระจายไปทั่วประเทศ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจะต้องหาวิธี หรือออกแบบระบบขนส่งให้ตอบโจทย์สินค้าตัวเอง เพื่อส่งไปถึงมือผู้รับได้อย่างสมบูรณ์ และต้องรู้ทั้งเรื่อง ภาษี กฎหมายนำเข้า-ส่งออก การบัญชี และการตลาด อีกด้วย