คณะนิเทศศาสตร์เปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถานบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกการที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขานี้สำหรับในระยะแรกของการก่อตั้งได้ใช้ชื่อว่า“แผนกวิชาสื่อสารมวลชน” โดยมีอาจารย์ประจำรับผิดชอบ 1 คน ผู้สอนที่ได้รับเชิญมาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพนิเทศศาสตร์ จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “แผนกวิชาสื่อสารมวลชน” มาเป็น “คณะสื่อสารมวลชน” มีอาจารย์เพิ่มขึ้นเป็น 3 คน ในขณะนั้นหลักสูตรเน้นเฉพาะสาขาการประชาสัมพันธ์เท่านั้น หลักสูตรได้รับการอนุมัติตั้งแต่ ปี พ.ศ.2514 ให้เปิดดำเนินการได้ 2 สาขาวิชา คือ การประชาสัมพันธ์ และวารสารศาสตร์

ในขณะเดียวกัน ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาขยายสาขาวิชาของคณะสื่อสารมวลชน (ชื่อที่ใช้อยู่ในขณะนั้น) เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสาขา คือสาขาการโฆษณา พร้อมทั้งได้มีการพิจารณาความเหมาะสมของคำว่าคณะ “สื่อสารมวลชน” หรือ “School of Mass Communication” ควบคู่ไปกับการปรับปรุงหลักสูตร โดยที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าคำจำกัดความของ “คณะสื่อสารมวลชน” จำกัดอยู่แต่เฉพาะประเภทของการสื่อสารไปยังมวลชนเท่านั้น ทั้งนี้คณะฯ มีเป้าหมายที่จะเปิดสาขาอื่นในอนาคตที่มีรูปแบบนอกเหนือจากที่หลักสูตรมาเปิดอยู่ก่อนแล้ว เช่น สาขาวิชาการโฆษณา สาขาศิลปะการแสดง สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ในที่สุดที่ประชุมจึงมีมติใช้คำว่า “นิเทศศาสตร์” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมในสาขาอาชีพทางการสื่อสารได้กว้างขวางกว่า คำว่า “นิเทศศาสตร์” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Communication Arts” เป็นคำพูดที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศประพันธ์ ทรงคิดขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2511 โดยทรงให้ความหมายว่า “เป็นวิชาที่สื่อสารไปยังมวลชนโดยทางใดก็ตาม” ไม่จำเพาะแต่ทางหนังสือพิมพ์เท่านั้น เช่น การสื่อสารทางละครก็จัดอยู่ในนิเทศศาสตร์ ตลอดจนการสื่อสารมวลชนหรือวิทยุโทรทัศน์ก็เป็นนิเทศศาสตร์เช่นกัน

และในปีการศึกษา 2523 ทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อจากคณะสื่อสารมวลชนเป็น “คณะนิเทศศาสตร์” หรือ “School of Communication Arts” ส่วนการศึกษาจัดเป็นระบบหน่วยกิต โดยนักศึกษาจะเรียนทั้งวิชาพื้นฐานทั่วไปและพื้นฐานอาชีพและนักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาเอกและวิชาโทซึ่งเป็นแต่ละสาขาวิชาจะจัดเปิดไว้ เพื่อให้นักศึกษาเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ

ในปีการศึกษา 2528 คณะได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ซึ่งเป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ และในปีการศึกษา 2530 คณะนิเทศศาสตร์ได้ขอรับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรของคณะที่ใช้มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 โดยได้ขอเปิดสอนสาขาวิชาศิลปะการแสดงเพิ่มอีกสาขาหนึ่งซึ่งนักศึกษาทุกสาขาวิชาต้องเรียนไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต จึงจะสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวอีกทั้งยังได้ดำเนินการขออนุมัติเปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ (ภาคค่ำ) สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมอีกหลักสูตรด้วย

ในปีการศึกษา 2533 คณะนิเทศศาสตร์ได้เปิดสอนสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพิ่มอีกหนึ่งสาขาวิชา เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่โดย เน้นการสอน ทั้งภาคทฤษฎีควบคู่กับการฝึกทักษะเชิงปฏิบัติให้กับนักศึกษาตลอดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีศักยภาพสามารถประยุกต์ใช้หลักการทางวิชาการ และประสบการณ์ในภาคปฏิบัติเป็นแนวทางในประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2544 คณะนิเทศศาสตร์ได้ขออนุมัติปรับปรุงหลักสูตรทุกสาขาวิชาได้แยกสาขาเฉพาะทาง ( Areas of Concentration) ออกเป็น 9 สาขาวิชา

และในปีการศึกษา 2549 คณะนิเทศศาสตร์ได้ขออนุมัติปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย มุ่งผลิต บัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางวิชาการ รู้ลึกสามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์และมีจิตสำนึก รับผิดชอบต่อสังคม โดยได้เปิดสอนสาขาวิชาการสื่อสารแบรนด์พร้อมทั้งได้แยกสาขาวิชาภาพยนตร์ออกจากภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

สำหรับปีการศึกษา 2555 คณะนิเทศศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education)

ในปีการศึกษา 2559 ได้มีการแยกสาขาวิชาภาพยนตร์จัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ และได้ทำการปรับเปลี่ยนปริญญาบัตรของภาควิชาศิลปะการแสดงเป็น ศิลปบัณฑิต เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ

 

ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ ปริญญาตรี มีทั้งหมดดังนี้ 

 

สาขาวิชาศิลปะการแสดง

สาขาวิชาการผลิตอีเว้นท์ และการจัดการนิทรรศการและการประชุม

สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง

สาขาวิชาการผลิตเนื้อหาสร้างสรรค์และประสบการณ์ดิจิทัล

นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ดิจิทัล)

นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นการโฆษณาดิจิทัล)

นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นการสื่อสารแบรนด์สร้างสรรค์)

นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นวารสารศาสตร์ดิจิทัล)

หลักสูตรนานาชาติ Innovative Media Production 

ตราสัญลักษณ์และสีประจำคณะ

ตราสัญลักษณ์
สีประจำคณะ
#1f2966 RGB: 31 41 102 HEX: #1f2966
ปณิธานและพันธกิจ

ปรัชญา

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพจะมุ่งมั่นผลิตบัณฑิตนักวิชาชีพที่รู้จริงด้านวิชาการ และปฏิบัติได้จริงอย่างมืออาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และธำรงไว้ซึ่งความดี

ปณิธาน

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีปณิธานที่จะสร้างนักนิเทศศาสตร์ที่สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาการและทักษะเชิงปฏิบัติได้อย่างเป็นเลิศ เปี่ยมล้นด้วยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ และตระหนักถึงภาระหน้าที่ของนักสื่อสารมวลชน ในการถ่ายทอดและสะท้อนภาพของสังคมโดยสุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และธำรงไว้ซึ่งความชอบธรรมของสังคม อันสอดคล้อง กับปณิธานของมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่มุ่งสร้างบัณฑิตที่มี “ความรู้คู่ความดี”

ค่านิยม

CREATIVE

    Creativity      ความคิดสร้างสรรค์

    Responsibility  ความรับผิดชอบต่อสังคม

    Excellence   คุณภาพและความเป็นมืออาชีพ

    Agility   ความพร้อมในการปรับตัวตามสถานการณ์

    Trust   ยึดมั่นในความซื่อตรง

    International ความเป็นสากล

    Vision  มองการณ์ไกล

    Entrepreneurial Spirit  การมีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ

วิสัยทัศน์

“เป็นผู้นําด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์แบบสร้างสรรค์ 360 องศา (Creative Convergence) ผลิตบัณฑิตที่เป็นนักสรรสร้างสาระที่มีคุณภาพ (Creative Content Creator) มีคุณธรรม และมีความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน”

เป้าหมาย

มุ่งเป็นคณะนิเทศศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับให้เป็นอันดับหน่ึงของประเทศไทย และเป็นสถาบัน ช้ันนําในระดับอาเซียน

พันธกิจ

คณะนิเทศศาสตร์มีพันธกิจดังนี้คือ

  1. พัฒนาสู่ความเป็นสถาบันชั้นนําทางด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์แบบสร้างสรรค์ 360 องศา (Creative Convergence) ท้ังในระดับประเทศ และระดับอาเซียน ที่สามารถพัฒนา งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ งานบริการทางวิชาการแก่สังคม และงานทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืน
  2. ผลิตบัณฑิตท่ีเป็นนักสรรสร้างสาระที่มีคุณภาพ (Creative Content Creator) และ มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการซ่ึงสามารถสร้างมูลค่าเพ่ิมให้แก่องค์กรและสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

อัตลักษณ์

มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ และมีความเป็นสากล

Cosmetic Image Cosmetic Image
การฝึกงานและสหกิจศึกษา
การสมัครเรียน
คณะนิเทศศาสตร์
สาขาที่เปิดรับสมัคร
การเตรียมตัว
ใช้เกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการศึกษาขึ้นไป ยื่นสมัครเรียนได้ทันที