Bangkok University Logo Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน
  • EN flag EN
Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน
ภาพรวม
เกี่ยวกับคณะ
สาขาวิชา
พันธมิตร
ผลงานนักศึกษา
ห้องปฏิบัติการ
ศิษย์เก่า
กิจกรรม
อาจารย์พิเศษ
คณะบริหารธุรกิจ

Featured Stories

คณะบริหารธุรกิจ — ข่าวสารและบทความ — 8 สายอาชีพบริหารธุรกิจ ที่เป็นมากกว่านักบริหาร
Tue Sep 2021
26779 คนอ่านบทความนี้
8 สายอาชีพบริหารธุรกิจ ที่เป็นมากกว่านักบริหาร
สายบริหาร อยากเรียนต่อในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อยากเป็นมากกว่านักบริหารทำได้หรือไม่? ที่นี่มาพร้อมหลักสูตรที่ทันสมัย และครอบคลุมทุกด้านของการบริหาร มีสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการของน้องๆ ถึง 8 สาขา เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่อาชีพในอนาคต เรียนบริหารที่เป็นมากกว่านักบริหาร จะมีอาชีพอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

 

สายบริหาร อยากเรียนต่อในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อยากเป็นมากกว่านักบริหารทำได้หรือไม่? ที่นี่มาพร้อมหลักสูตรที่ทันสมัย และครอบคลุมทุกด้านของการบริหาร มีสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการถึง 8 สาขา เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่อาชีพในอนาคต เรียนบริหารที่เป็นมากกว่านักบริหาร จะมีอาชีพอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

 

 

 

 

 

สาขาวิชาการจัดการ หลักสูตรที่จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้หลักบริหารธุรกิจครอบคลุมทุกด้าน เข้าใจในการบริหารจัดการธุรกิจและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยในการวางแผนและบริหารกลยุทธ์ให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ มีโอกาสฝึกทำธุรกิจจริง พร้อมการเรียนรู้ในสถานที่จริงจากองค์กรชั้นนำ

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ สร้างธุรกิจของตนเองตามความฝันและบริหารจัดการให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
- นักวิเคราะห์ธุรกิจ มีหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาหรือวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กร เพื่อนำข้อมูลนั้นไปปรับปรุงหรือตอบสนองกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
- นักบริหารและจัดการกลยุทธ์ คือผู้นำด้านการจัดการและการบริหารฝ่ายต่างๆ ในองค์กร เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีหน้าที่วางแผนและบริหารทั้งตัวบุคคลและองค์กรให้เป็นระบบและประสบความสำเร็จ
- ผู้ประเมินผลิตภัณฑ์ ควบคุมคุณภาพของสินค้าภายในองค์กร ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่วางไว้
- ที่ปรึกษาขององค์กร คือผู้ให้คำปรึกษาขององค์กร เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างดี วิเคราะห์อย่างมีหลักการ พร้อมมีแผนรองรับอยู่เสมอ
- นักวางแผนพัฒนาธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ ปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์กรแบบไม่หยุดนิ่ง พัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมให้เข้ากับยุคสมัย และตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

 

 

 

 

 

 

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ศึกษาข้อมูลการทำธุรกิจระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบ เข้าใจและรับมือกับคู่แข่งในโลกธุรกิจได้ และเรียนรู้การทำธุรกิจจากองค์กรต่างประเทศ มีโอกาสฝึกงานกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเก็บประสบการณ์จากมืออาชีพ พร้อมอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจโดยตรง

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ทำหน้าที่ดูแลกระบวนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ตั้งแต่การติดต่อกับลูกค้า การประสานงานกับคู่ค้า การจัดการกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง พิธีการศุลกากร โลจิสติกส์ การเรียกเก็บและชำระเงิน ไปจนถึงการวิเคราะห์สภาพตลาดต่างประเทศเพื่อแสวงหาโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ
- นักบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ทำหน้าที่วางแผนกลยุทธ์และจัดการกิจกรรมต่าง ๆให้กับองค์กรธุรกิจข้ามชาติ เช่น จัดการดูแลทรัพยากรบุคคลระหว่างประเทศ สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้บุคลากรจากหลากหลายวัฒนธรรมสามารถทำงานร่วมกันได้ วางแผนการตลาดระหว่างประเทศ วิจัยธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น ตลอดจนการทำงานในหน่วยงานภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการค้าระหว่างประเทศ และกิจกรรมการส่งเสริมหรือสนับสนุนผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
- เจ้าของธุรกิจระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขยายธุรกิจครอบครัวจากระดับภายในประเทศสู่ระดับสากล การสร้างธุรกิจนำเข้าหรือส่งออกของตัวเอง
- ที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาทางธุรกิจ วางแผนกลยุทธ์ ออกแบบวิธีแก้ปัญหา ประเมินศักยภาพและผลลัพธ์การทำงานขององค์กร จัดทำแผนที่นำทางหรือสร้างเครื่องมือเพื่อการพัฒนากระบวนการทำงานหรือแก้ไขปัญหาให้กับธุรกิจ ตลอดจนการฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะใหม่หรือเพิ่มพูนทักษะให้กับบุคลากรในองค์กรระหว่างประเทศ

 

 

 

 

 

 

ทุกวันนี้ประเทศจีนกำลังเพิ่มกำลังการซื้อภายในประเทศแบบไม่หยุดพัก จีนถือเป็นตลาดการค้าใหญ่ของโลก ที่หลายๆ ประเทศไม่อาจละเลยที่จะมองข้าม ดังนั้นการศึกษาวิธีคิด พฤติกรรมผู้บริโภค กลยุทธ์การค้าที่จะเจาะตลาดเข้าสู่จีนนั้น ระเบียบการค้าที่เกี่ยวข้องของจีน เครื่องมือในการประกอบธุรกิจในประเทศจีนสมัยใหม่ จะทำให้ได้โอกาสการค้ากับจีนในอนาคตแบบมหาศาล เเละลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ถ้าสนใจด้านนี้สามารถเลือกเรียน สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (มุ่งเน้นธุรกิจจีน) เรียนรู้แบบเจาะลึกธุรกิจและเศรษฐกิจภายในประเทศจีนแบบเชิงรุก วางแผน คิดวิเคราะห์ธุรกิจ เข้าใจวัฒนธรรม กฎหมาย และธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ เน้นการเจาะตลาดจีนแนวใหม่ ด้วยเครื่องมือดิจิทัลจีน และการค้าแบบ Online+Offline รู้ช่องทางการนำสินค้าไปขายในประเทศจีนหรือจะนำเข้าจากประเทศจีนมาขายที่ไทย และมีโอกาสศึกษาดูงานที่ประเทศจีนค่ะ

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักการตลาดจีน (China Marketer) ทำหน้าที่การวิเคราะห์โอกาสทิศทางการประกอบธุรกิจกับตลาดจีน การสร้างผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพตลาดจีน วางเเผนธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น รูปแบบการกำหนดราคา ช่องทางจัดจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ วางกลยุทธ์การตลาดระหว่างประเทศเพื่อเจาะสู่ตลาดจีน ทั้งเเบบ Offline เเละ Online
- นักธุรกิจด้านนำเข้าส่งออกจีน หรือ เทรดเดอร์จีน (China Export-Importer / China Trader) เป็นนักธุรกิจที่มองหาโอกาสในการนำเข้าส่งออกสินค้ากับประเทศจีน บริหารจัดการกระบวนการนำเข้าและส่งออกของสินค้า บริหารจัดการประสานงานติดต่อลูกค้า ดำเนินการเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งด้านพิธีการศุลกากร ขนส่ง เเละเอกสารอื่นๆ ตามระเบียบของการค้ากับประเทศจีน
- นักบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ(จีน) ทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจข้ามชาติ การจัดตั้งองค์กร การดำเนินการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ วิจัยวางเเผนธุรกิจโดยรวมในต่างประเทศ เช่น เเผนการตลาด เเผนงานด้านบุคลากร การสร้างความต่อเนื่องของธุรกิจ ซึ่งดำเนินการธุรกิจในประเทศจีนโดยเฉพาะ
- ที่ปรึกษาด้านธุรกิจการค้าจีน ทำหน้าที่ให้การปรึกษา การให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจกับประเทศจีน ข้อมูลด้านระเบียบการค้าที่เกี่ยวข้องในการประกอบการธุรกิจของไทยเเละจีน

 

 

 

 

 

 

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เรียนรู้และสร้างความเข้าใจในระบบโลจิสติกส์ สามารถวิเคราะห์และวางแผนได้ มีการเตรียมความพร้อมในการสอบใบรับรองมาตราฐานคุณวุฒิวิชาชีพจากสมาคม TACBA เพื่อเป็นใบเบิกทางเข้าทำงานด้านโลจิสติกส์ พร้อมเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น FLASH, Kerry Express, DHL และอีกมากมายที่จะทำให้ได้เรียนรู้จากตัวจริงขององค์กรระดับโลก นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้งานทั้งในและต่างประเทศในฐานเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงค่ะ

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักวางแผนจัดซื้อและจัดหาวัตถุดิบ ให้เพียงพอในการผลิตสินค้า ต้องจัดหาวัตถุดิบหรือรู้แหล่งจัดซื้อที่คุ้มค่ากับต้นทุน ควบคุมขั้นตอนการขนส่งและการเก็บรักษาอย่างปลอดภัย
- นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คือผู้วิเคราะห์ด้านคลังสินค้า การขนส่ง เพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด พร้อมรับหน้าที่บริหารงานขนส่ง เพื่อให้สินค้าส่งถึงมือลูกค้าตรงตามกำหนด
- รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร

 

 

 

 

 

 

สาขาวิชาการตลาด เรียนรู้การสร้างความรู้ทางการตลาด วิเคราะห์ตลาด การสร้างกลยุทธ์ และการวิจัยทางการตลาดโดยตรง ที่ส่งผลกับผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต พร้อมสร้างหัวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านการตลาดอีกด้วย

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักวิจัยการตลาด อาชีพที่ต้องอยู่กับข้อมูล สถิติ หน้าที่หลักคือการวิเคราะห์ข้อมูล แนวโน้มการตลาดและเศรษฐกิจ สำรวจความพอใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ และวิเคราะห์คู่แข่ง ข้อมูลที่ได้จากนักวิจัย จะนำมาปรับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โปรโมชั่น หรือ ราคา ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น ถ้าน้องๆ ชอบในงานวิจัย หรือการทำงานร่วมกับข้อมูล
- ผู้จัดการผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมการตลาด มีหน้าที่วิเคราะห์ตลาดเพื่อรู้แนวทางในการนำสินค้านั้นเข้าสู่ตลาด ความเป็นไปได้ในอนาคต วิเคราะห์ผู้บริโภค คู่แข่ง และปัจจัยภายในและภายนอกที่จะส่งผลต่อสินค้าและบริการ
- ผู้จัดการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ต้นทุนที่น้อยที่สุด เหมาะสมกับการใช้งานหรือประเภทของสินค้านั้นๆ
- ผู้จัดการด้านการขายและบริหารลูกค้ารายสำคัญ คือผู้ที่คอยเสนอซื้อหรือขายให้กับลูกค้ารายใหญ่ที่มีผลต่อการดำเนินงานของบริษัท มีข้อเสนอที่สมเหตุสมผลโดยต้องไม่ทำให้บริษัทเสียผลกำไร

 

 

 

 

 

 

สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล หลักสูตรที่แรกที่มีมาตรฐานความรู้และทักษะด้านการตลาดดิจิทัลแบบเจาะลึก ทันสมัยเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าตลอดเวลาทั้ง การวางกลยุทธ์และแผนการตลาด การทำธุรกิจ E-Commerce และ Social Media พร้อมด้วยการเสริม ทักษะภาษาอังกฤษ การเงิน บัญชี และการบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ชั้นนำในวงการ และ นักการตลาดตัวจริงมืออาชีพจากบริษัทชั้นนำ มาร่วมสอน เทคนิคและประสบการณ์จริงจากการทำงานให้กับนักศึกษาในบรรยากาศที่ สามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้แบบใกล้ชิด

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักการตลาด เจ้าหน้าที่ด้านการตลาดดิจิทัล
- นักออกแบบเนื้อหาและโฆษณาการตลาด ผู้สร้างสรรค์สื่อด้านการตลาดทางการโฆษณาที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ทำให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น
- นักวางกลยุทธ์แบรนด์ดิจิทัล การสร้างกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำและเกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยเน้นการสร้างกลยุทธ์ทางดิจิทัลหรือออนไลน์เท่านั้น
- เจ้าหน้าที่บริหารงานลูกค้าสายธุรกิจโฆษณาและสื่อดิจิทัล ทำหน้าที่ตรวจเช็คบริหาร หรือวางแผนให้สื่อดิจิทัลเป็นไปตามที่ลูกค้ากำหนด
- นักวิเคราะห์และวางแผนข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค วางแผนการตลาด โดยต้องคิดวิธีการโปรโมท การใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้มากที่สุด และสามารถกลับมาซื้อสินค้าได้อีกครั้ง

 

 

 

 

 

 

สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน หลักสูตรการวางแผนการเงินและลงทุนที่แรกและที่เดียวในไทย ที่ได้รับการรองรับจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทยและสถาบันการเงินชั้นนำ เจาะลึกการเงินและการลงทุนทุกรูปแบบ และทักษะการวางแผนการเงินรอบด้าน เช่น การวางแผนภาษีมรดก และการวางแผนเกษียณ สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพด้านการเงินและการลงทุน CFP ได้ทันที เมื่อเรียนจบ

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- นักวางแผนการเงิน (CFP) ผู้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ
- ที่ปรึกษาการเงิน (AFPT) ผู้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนการประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
- ผู้วางแผนการลงทุน (Investment Planner) ผู้ที่ให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนสามารถวางแผนประกอบการให้คำแนะนำการลงทุนแก่นักลงทุนที่เฉพาะเจาะจง และเหมาะกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นักลงทุน
- นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้วิเคราะห์ธุรกิจ งบการเงิน แนวโน้มการเติบโต เพื่อแนะนำและสร้างการตัดสินใจก่อนการลงทุนของนักลงทุน และทำให้นักลงทุนเข้าใจภาพรวมของบริษัทมากขึ้น
- นักวิเคราะห์การลงทุน ผู้วิเคราะห์การลงทุน ติดตามข่าวสาร อัปเดทสถานการณ์ต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการลงทุนในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้คำแนะนำกับนักลงทุน
- นักลงทุน อาชีพที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ คือการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น คริปโต กองทุนรวม โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และเงิน ในการลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ

 

 

 

 

 

 

สาขาวิชาการเงิน เรียนรู้หลักวิชาด้านการเงินแบบครอบคลุม หน้าที่ทางการเงิน แนวทางการใช้ข้อมูลทางการเงินเพื่อวิเคราะห์และวางแผนทางธุรกิจ โครงสร้างและการบริหารสถาบันการเงินและตลาดหลักทรัพย์ การประกันภัย หลักการลงทุน การวิเคราะห์และจัดการกลุ่มหลักทรัพย์ เข้าใจการใช้เครื่องมือทางการเงิน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางการเงินได้อย่างมืออาชีพ

สายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
- ผู้อำนวยการฝ่ายความเสี่ยง วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงด้านการเงิน สามารถวางแผนและกำหนดแนวทางบริหารให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด
- นักวิเคราะห์สินเชื่อ วิเคราะห์สินเชื่อพร้อมการประเมินและอนุมัติให้กับลูกค้า โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขขององค์กรนั้น เพื่อให้ได้กำไรและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ดูแลและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายภายในสถาบันการเงิน
- ผู้จัดการกองทุน ผู้ดูแลการลงทุนของลูกค้า โดยการบริหารเงินจากลูกค้าให้สามารถลงทุนในกองทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่ลูกค้าคาดหวัง
- นักลงทุนสัมพันธ์ ผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลของบริษัทกับบุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เช่น ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ นักลงทุน คู่ค้าทางธุรกิจหน่วยงานกำกับดูแล และสื่อมวลชน เป็นต้น
- เจ้าหน้าที่ประเมินราคาสินทรัพย์ ผู้ประเมินราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งแบบรูปธรรม เช่น บ้าน ที่ดิน อาคาร และแบบนามธรรม เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

 

แชร์บทความนี้
ข่าวล่าสุด
The Mastermind: Business Idea Competition 2025 สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากวัสดุ EPP
09/05/2025
The Mastermind: Business Idea Competition 2025 สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากวัสดุ EPP
การประกวดแข่งขันไอเดียทางธุรกิจเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่จากวัสดุ EPP
ระเบิดไอเดียการตลาดสุดเจ๋งในโครงการ NextGen Campus Commerce Challenge
08/05/2025
ระเบิดไอเดียการตลาดสุดเจ๋งในโครงการ NextGen Campus Commerce Challenge
คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาดดิจิทัล จัดการประกวดผลงานนักศึกษาภายใต้โครงการ “NextGen Campus Commerce Challenge
พาสปอร์ตสู่โลกการลงทุนระดับสากล นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจคว้าใบรับรอง CFA Level 1 
07/05/2025
พาสปอร์ตสู่โลกการลงทุนระดับสากล นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจคว้าใบรับรอง CFA Level 1 
ขอแสดงความยินดีกับริว ณภัทร ปวงจันทร์ นักศึกษาสาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ สอบผ่าน CFA Level 1
เสริมทักษะนักศึกษาสู่โลกอาชีพ Adecco เปิดเวิร์กชอปเทคนิคสัมภาษณ์งานมืออาชีพ
23/04/2025
เสริมทักษะนักศึกษาสู่โลกอาชีพ Adecco เปิดเวิร์กชอปเทคนิคสัมภาษณ์งานมืออาชีพ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดโครงการ "สร้างโอกาสในการก้าวสู่โลกของการทำงานและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ"
การสมัครเรียน
คณะบริหารธุรกิจ
ทุนการศึกษาที่สามารถขอได้
ค่าเทอมที่ต้องชำระ
หลังจากหักส่วนลดทุน กยศ.
สาขาที่เปิดรับสมัคร
สาขาวิชาการตลาด
Marketing
สาขาวิชาการเงิน
Finance
สาขาวิชาการจัดการ
Management
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
International Business Management
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
Logistics and Supply Chain Management
สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล
Digital Marketing
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (มุ่งเน้นธุรกิจจีน)
International Business Management (Chinese Business)
สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน
Financial and Investment Planning
สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล มุ่งเน้นเจ้าของธุรกิจดิจิทัลและแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์
Digital Marketing (Digital Entrepreneur & Brand Influencer)
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มุ่งเน้นดิจิทัลคอมเมิร์ซโลจิสติกส์
Logistics and Supply Chain Management (Digital Commerce Logistics)
สาขาบริหารธุรกิจ
Master of Business Administration
การเตรียมตัว
ใช้เกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการศึกษาขึ้นไป ยื่นสมัครเรียนได้ทันที
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาคาร A7 ชั้น 2
9/1 หมู่ 5 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
ดูแผนที่
โทรศัพท์
02 407 3888 ต่อ 2640
แฟกซ์
02 407 3999
หน้าหลัก
หลักสูตร
คณะบริหารธุรกิจ
ข่าวสารและบทความ
8 สายอาชีพบริหารธุรกิจ ที่เป็นมากกว่านักบริหาร
Bangkok University Logo
ข้อมูลมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ ม.กรุงเทพ ข่าวสาร ปฏิทินการศึกษา สมัครเรียน ค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษา นักศึกษาปัจจุบัน คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แผนที่มหาวิทยาลัย ติดต่อเช่าสถานที่ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัย ร่วมงานกับเรา
สำหรับนักศึกษา BU URSA BU Links สำหรับบุคลากร MyBU
Copyright © 2025 Bangkok University. All rights reserved.
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เกี่ยวกับการใช้งานคุ้กกี้
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกรณีทั่วไป