หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ของ ม.กรุงเทพ ยึดมั่นในการสร้างคุณธรรมและจริยธรรม ควบคู่ไปกับการสร้างบุคลากรด้านกฎหมาย ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักกฎหมายอย่างลึกซึ้ง ผ่านการเรียนรู้ที่ทันสมัย เข้าใจบริบทของยุคสมัย เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยครอบคลุมไปถึงกฎหมายยุคใหม่ นักศึกษาจะได้รับการเสริมด้วยประสบการณ์ด้วยห้องปฏิบัติการศาลจำลอง ให้ได้ฝึกฝน แสดงฝีมือการว่าความในมิติต่างๆ โดยอยู่ในการดูแลของคณาจารย์ผู้เป็นที่ยอมรับและมีผลงานในแวดวงนิติศาสตร์ที่จะคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด และเรายังมีฐานข้อมูลที่ทันสมัยและครบวงจรที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานของนักศึกษาได้อย่างครอบคลุมรอบด้าน
สถาบันของเราพิสูจน์คุณภาพมาแล้วจากศิษย์เก่าของเราที่สามารถสอบได้ที่ 1 เนติบัณฑิตสมัยที่ 70 ด้วยคะแนนเกียรตินิยม คนที่ 5 ของประเทศ และเป็นคนแรกจากมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ได้คะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในการสอบเนติบัณฑิต
มาเรียนรู้ศาสตร์แห่งการค้นหาความจริงและความถูกต้องกับเรา เพื่อก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ และที่ปรึกษาทางกฎหมาย ผู้มีวิสัยทัศน์และผดุงความเป็นธรรมในสังคม
ทำไมต้องเรียนสาขานี้
- วิชากฎหมายยุคใหม่น่าเรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต เช่น กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ กฎหมายปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ กฎหมายและกฎเกณฑ์การตลาดดิจิทัล กฎหมายและกฎเกณฑ์สำหรับอินฟลูเอนเซอร์ กฎหมายว่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายในการปฏิบัติงาน
- เน้นกฎหมายยุคใหม่ เช่น กฎหมายทรัพย์ด้านสินทางปัญญา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายพลังงาน กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายอวกาศ กฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข
- วิชาเลือกทันสมัยตอบโจทย์ธุรกิจ พัฒนาทักษะทางวิชาชีพ เช่น กฎหมายแพ่งและอาญา กฎหมายมหาชน กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายองค์การระหว่างประเทศ
- แนะแนวการสอบใบอนุญาตว่าความและเนติบัณฑิต
- ผลักดันให้นักศึกษาได้ฝึกงานทั้งในภาครัฐและเอกชน
- ความร่วมมือทางวิชาการและทุนการศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำต่างประเทศ
- เรียนกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายระดับผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชน
- ได้การรับรองจากองค์กรวิชาชีพทางด้านกฎหมาย นักศึกษามีความพร้อมปฏิบัติงานทางด้านกฎหมาย
- นำความรู้ไปประกอบวิชาชีพทางด้านนิติศาสตร์ และการทำงานในบริษัทภาคธุรกิจชั้นนำได้
- สามารถใช้คุณวุฒิต่อยอดสู่วิชาชีพทางด้านกฎหมาย เช่น ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา
- ศิษย์เก่าได้ที่ 1 เนติบัณฑิตสมัยที่ 70 ด้วยคะแนนเกียรตินิยม ซึ่งเป็นคนที่ 5 ของประเทศ และคนแรกจากมหาวิทยาลัยเอกชนซึ่งเคยได้คะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในการสอบเนติบัณฑิต
- เรียนปฏิบัติการว่าความในศาลจำลอง
- เน้นเรียนกับอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษในวงการที่มากด้วยประสบการณ์
- โอกาสนำความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้ เชื่อมโยงความรู้ข้ามศาสตร์ มาฝึกปฏิบัติงานจริงในระหว่างศึกษา
- เพิ่มประสบการณ์การทำงานในวิชาชีพ ได้พัฒนาตนเองสู่ความเป็นนักกฎหมายมืออาชีพ






stories
ทำอาชีพอะไร
- ผู้พิพากษา
- อัยการ
- ทนายความ
- นักการทูต
- ตำรวจ
- ทหาร
- ปลัดอำเภอ นักปกครอง
- อาจารย์
- เจ้าของกิจการสำนักงานที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
- ที่ปรึกษากฎหมาย (Law Firm)
- อนุญาโตตุลาการ
- เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ
- ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
- นักการเมือง
- อาชีพทางเลือกด้านกฎหมาย เช่น นักสืบอาชีพ ที่ปรึกษาความเสี่ยง นักบริหารสัญญา เจ้าของธุรกิจส่วนตัว
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
- การว่าความและศาลจำลอง
- วิชาชีพทางด้านกฎหมาย ทนายความและการจัดการสำนักงานกฎหมาย
- ทักษะในการปฏิบัติงานด้านกฎหมาย
- การใช้และตีความกฎหมาย
สาขาวิชากฎหมายแพ่งและอาญา
- สัมมนากฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- สัมมนากฎหมายอาญา
- กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
- กฎหมายอาญาทางธุรกิจ
- การสืบสวนสอบสวนและนิติเวชศาสตร์
สาขาวิชากฎหมายมหาชน
- กฎหมายการเลือกตั้งและรัฐสภา
- สิทธิมนุษยชน
- ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
- กฎหมายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กฎหมายประกันสังคม
- กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ
สาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ
- กฎหมายว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
- กฎหมายว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศ
- กฎหมายสหภาพยุโรป
- กฎหมายการเงินและการธนาคารระหว่างประเทศ
- อนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศ
- กฎหมายว่าด้วยประชาคมอาเซียน
- หลักกฎหมายภาษีอากรระหว่างประเทศ
- กฎหมายองค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ
- กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- การบัญชีสำหรับนักกฎหมาย
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและความรับผิดของสินค้าไม่ปลอดภัย
- กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการลงทุน
- กฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์
- กฎหมายธุรกิจท่องเที่ยว
- กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
- กฎหมายสำหรับผู้ประกอบการ
- กฎหมายเกี่ยวกับพลังงาน
- กฎหมายว่าด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล