ห้องปฏิบัติการทันสมัย

ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ มีสาขาที่ตรงต่อความต้องการ ได้รับการรับรองจากสภาวิศวกร สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ สาขาวิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์  สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เน้นการลงมือปฏิบัติจริง ดังนั้น อุปกรณ์ได้มาตรฐานเหมือนที่ใช้งานจริงในสายงาน มีห้องปฏิบัติการณ์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา แยกตามสายงานต่างๆ ที่อุปกรณ์ครบและจัดเต็มที่ในแต่ละสาขาจำเป็นต้องใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ได้เรียนจริง ประกอบจริง พร้อมอุปกรณ์เซฟตี้ให้ครบ ได้เรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสามารถเป็นมืออาชีพที่ได้รับการยอมรับจากวงการวิศวกรรม เรียนจบพร้อมไปสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม เพื่อให้นักศึกษามีทักษะและความสามารถ พร้อมตอบโจทย์การพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต

 

ห้องปฏิบัติการดิจิทัลและไมโครโพรเซสเซอร์ (Digital and Microprocessor Laboratory)

นักศึกษาจะได้เรียนรู้ระบบการทำงานและการใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลต่างๆ อันถือเป็นหัวใจของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการมีชุดทดลองด้านไมโครโพรเซสเซอร์หลายรุ่น ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนรู้อย่างละเอียด สามารถนำไปออกแบบและใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อนได้

 

 

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์วิศวกรรม (Engineering’s Computer Room)

ในงานด้านวิศวกรรม นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานในด้านต่างๆ เช่น การออกแบบชิ้นงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  การออกแบบวงจรและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวณคณิตศาสตร์ และการศึกษาถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยคณะฯ ได้จัดห้องปฏิบัติการเฉพาะ แยกจากนักศึกษาคณะอื่นๆ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้ใช้ระบบ Local Area Network พร้อมกับติดตั้ง Files Server เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ด้วยวงจรเช่าความเร็วสูง เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นหาช้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

 

 

ห้องระบบเสียงรอบทิศทาง (360 Degree Sound Laboratory)

นักศึกษาจะได้สัมผัสห้องบันทึกเสียงระบบเสียงรอบทิศทาง โดยห้องบันทึกนี้ใช้อุปกรณ์ Interface ของ AVID ใช้งานร่วมกับ Software Protools ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในห้องบันทึกเสียงสากล รวมไปถึงมีระบบเสียงรอบทิศทาง 5.1 พร้อมระบบมิกเซอร์ดิจิตอลของ YAMAHA เป็นตัวควบคุม สามารถบันทึกเสียงได้ทั้งวงดนตรี

 

 

ห้องออกแบบและบันทึกเสียง (Sound Design and Recording)

นักศึกษาสามารถใช้งานห้องออกแบบและบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงสำหรับการพากษ์เสียง สำหรับการทำแอนิเมชัน หรือบันทึกเสียงสำหรับการทำเพลง แต่งเพลง โดยห้องนี้สามารถบันทึกสดได้ทั้งหมด 2 แชนแนล

 

 

ห้องปฏิบัติการวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics and Electrical Laboratory)

ใช้ศึกษาถึงหลักการและทฤษฏีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น นำไปสู่การศึกษาขั้นสูงต่อไป คณะฯ ได้จัดอุปกรณ์ทดลองและเครื่องมือวัดอันทันสมัยเพื่อความสมบูรณ์ของทุกการทดลอง

 

 

ห้องปฏิบัติการนฤมิตศิลป์ และผลิดสื่อมัลติมีเดีย (BU New media Laboratory & BU Production Studio)

BUN เป็นห้องปฏิบัติการพิเศษที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อให้นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มีความสนใจเฉพาะทางในการผลิตผลงาน เข้ามาร่วมวิจัยและพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในด้านต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับนักศึกษา และเป็นแหล่งบ่มเพาะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งนี้เพื่อต่อยอดในการสร้างผลงานในด้านอื่นๆ ต่อไป

 

 

โรงฝึกงาน (Workshop)

นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะด้านงานช่างเบื้องต้น อันได้แก่ การกลึง การพับ การเชื่อมโลหะด้วยแก็ส การเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า  การตะไบ เป็นต้น อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์

 

ห้องปฏิบัติการเขียนแบบวิศวกรรม (Engineering Drawing Room)

การเขียนแบบเป็นทักษะเบื้องต้นที่สำคัญของวิศวกรทุกคนคณะฯได้จัดห้องปฏิบัติการอันประกอบด้วยโต๊ะเขียนแบบมาตรฐานสำหรับนักศึกษาทุกคนอย่างพอเพียงโดยนักศึกษาจะได้ศึกษาตั้งแต่พื้นฐานของการเขียนแบบ จนถึงการเขียนแบบในงานด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การศึกษาในด้านอื่นๆต่อไป

 

ห้องปฏิบัติการเคมีและห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ (Physics Laboratory)

ได้ศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เบื้องต้นทั้งเคมีและฟิสิกส์ โดยนักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติการทดลองในห้องปฏิบัติการเคมีและห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ โดยห้องปฏิบัติการทั้งสองประกอบไปด้วยเครื่องมืออันจำเป็นสำหรับการศึกษาและปฏิบัติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ทุกแขนง

 

 

ห้องปฏิบัติการระบบเน็ทเวิร์ค (Engineering’s Computer Network Room)

ในด้านงานระบบเครือข่าย นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้งานระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น การใช้อุปกรณ์ทั้งแบบมีสาย(Wire) และ ระบบไร้สาย(Wireless) โดยนักศึกษาจะได้ใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายของบริษัท Cisco ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่นิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ทั้งได้ลงมือทำจริงและได้สัมผัสของจริง อีกทั้งเมื่อนักศึกษาผ่านการเรียนในวิชา จะสามารถขอสอบใบประกาศนียบัตรที่บริษัท Cisco รองรับอีกด้วย

 

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์วิศวกรรม (Engineering’s Computer Room)

ในงานด้านวิศวกรรม นักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานในด้านต่างๆ เช่น การออกแบบชิ้นงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  การออกแบบวงจรและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวณคณิตศาสตร์อันซับซ้อน และการศึกษาถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยคณะฯ ได้จัดห้องปฏิบัติการเฉพาะ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้ใช้ระบบ Local Area Network พร้อมกับติดตั้ง Files Server เพื่อให้บริการแก่นักศึกษา ด้วยวงจรความเร็วสูง เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นหาช้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

 

ห้องปฏิบัติการระบบควบคุม

นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ของระบบ ระบบควบคุมแบบป้อนกลับและแบบวงรอบเปิด ฟังก์ชันถ่ายโอน กราฟการไหลสัญญาณ การวิเคราะห์โดเมนเวลาและโดเมนความถี่และการออกแบบระบบควบคุม โลกัสของรากการพล็อตไนควิสต์ การพล็อตโบเด เสถียรภาพของระบบ

 

 

ห้องปฏิบัติการแปรรูปพลังงาน และเครื่องจักรกลไฟฟ้า

นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงจรแม่เหล็ก หลักการแปรผันพลังงานกลไฟฟ้าพลังงานและการแปลงพลังงานแม่เหล็ก หม้อแปลงไฟฟ้าแบบเฟสเดียวและสามเฟส หลักการทำงานของเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสตรง วงจรสมมูลของเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสตรง การเริ่มเดินเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสตรง การควบคุมความเร็วของมอเตอร์กระแสตรง รวมถึงโครงกสร้างของเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสสลับ ซิงโครนัสมอเตอร์อินดัคชันมอเตอร์แบบเฟสเดียวและสามเฟส เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับแบบซิงโครนัส วงจรสมมูลของเครื่องจักรไฟฟ้ากระแสสลับ การเริ่มเดินเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ การควบคุมความเร็วของมอเตอร์กระแสสลับแบบซิงโครนัสและแบบอินดักชั่น การควบคุมการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับแบบซิงโครนัส การซิงโครไนซ์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันของเครื่องจักร

  • แหล่งที่มา: คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • อัพเดทล่าสุด : 22 ตุลาคม 2561, 14:12:18 น.