Featured Stories
คณะนิเทศศาสตร์ — ข่าวสารและบทความ — ส่องวิชาน่าเรียน เด็ก PA เรียนการแสดงอย่างเดียวไหม?สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่า สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะนิเทศศาสต์ เรียนแค่การแสดงอย่างเดียวไหม? บอกเลยว่าไม่ใช่ เพราะเราจะได้เรียนเจาะลึกการแสดงทุกขั้นตอน ทั้ง On Stage และ Backstage ที่สุดปังอลังเว่อร์ วันนี้เราจะพาไปดูว่า สาขาวิชาศิลปะการแสดง ม.กรุงเทพ ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย เรียนอะไรกันบ้าง
ส่องวิชาน่าเรียนสาขาวิชาศิลปะการแสดง ม.กรุงเทพ ที่ครบวงจรด้านการแสดงมากที่สุด
ละครเวที การแสดงสุดคลาสสิคที่มีความสวยงามตระการตา เป็นหนึ่งในศาสตร์ที่โดดเด่นและน่าสนใจมานาน ผ่านไปกี่ยุคก็ยังคงได้รับความนิยมเสมอ เพราะเป็นชิ้นงานที่เต็มไปด้วยคุณค่าและมีรายละเอียด จึงมีผู้คนให้ความสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการแสดงและละครเวทีอยู่มาก ทำให้เทรนด์การเรียนสายนี้ ไม่เคยตกยุค
หลายๆ คนอาจคิดว่าเป็นเด็กศิลปะการแสดงจะต้องเรียนแค่การแสดงเท่านั้น บอกเลยว่าไม่ใช่แน่นอน เพราะกว่าจะเป็นละครเวทีเรื่องนึงที่ทุกคนได้ชมนั้นบอกเลยว่ามีองค์ประกอบหลายอย่างไม่ใช่ Performance บนเวทีเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะมาเพิ่มเสน่ห์ของการแสดง เช่น แสง สี เสียง ฉาก เมคอัพ และคอสตูมต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญให้โชว์ของเรามีความเพอร์เฟกต์และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราจะพาไปดูกันว่า นอกจากวิชาการแสดงแล้วนั้น ที่สาขาวิชาศิลปะการแสดง ของเรามีวิชาอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง
เพลงและการเต้น (Song and Dance)
สำหรับสายชอบแดนซ์ชอบม่วนจอย บอกเลยว่าเรามีสอนทั้งร้องและเต้น เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายให้สามารถออกแบบ ท่าเต้นหรือท่าทางต่างๆ เพื่อสื่อความหมายของเรื่องที่เราจะเล่าได้อย่างสร้างสรรค์บนเวที
การออกแบบเพื่อการแสดง (Scenography)
นอกจากการแสดงสดบนเวทีแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือเทคนิคต่างๆ บนเวที ไม่ว่าจะเป็น visual แสง สี เสียง ฉาก เมคอัพและคอสตูมต่างๆ ก็สามารถสร้างประสบการณ์ที่เร้าใจและแปลกใหม่ให้กับผู้ชมได้เช่นเดียวกัน โดยในวิชานี้ทุกคนจะได้เรียนรู้การออกแบบและใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาผสมผสานกับการ perform เพื่อสร้างความอลังการ โดยนักศึกษาจะได้เลือกทำงานตามความถนัดและความสนใจในตำแหน่งต่างๆ ของ backstage ได้และสามารถพัฒนาสกิลเพื่อต่อยอดได้ในอนาคต
การสำรวจอุตสาหกรรมบันเทิงโลก (Survey of World Entertainment Industry)
มาต่อกันที่วิชาที่เกี่ยวกับการตลาดกันบ้าง อย่าเพิ่งคิดว่าวิชานี้น่าเบื่อ เพราะท้ายที่สุดแล้ว การแสดงของเราจะต้องมาคู่กับการวางแผนการตลาดที่ดีโชว์จึงจะขายได้ ดังนั้นการสำรวจตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้รู้เท่าทันเทรนด์โลกว่าไปถึงไหนแล้วบ้าง เพื่อที่เราจะได้เข้าใจกระแสสังคมและสามารถออกแบบเนื้อหาและการแสดงได้ตรงกับสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการรับชม
การทดสอบเพื่อคัดเลือกบุคลากรทางการแสดง (Auditioning)
มาต่อกันที่วิชาออดิชั่น แค่ฟังก็ว้าวแล้ว ในวิชานี้เราจะให้นักศึกษาได้สวมบทบาทผู้ได้รับการออดิชั่นหน้ากล้อง การเตรียมบทสำหรับการออดิชั่น หรือการเตรียมตัวสำหรับโจทย์ที่ได้รับมา เพราะการออดิชั่นกับเด็กการแสดงอย่างเรานั้นเป็นของคู่กันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์การแสดง ของคณะละครมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือการออดิชั่นตำแหน่งต่างๆ ในวงการบันเทิง เราก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างอาชีพ เด็ก PA เป็นได้มากกว่าที่คิด
จากวิชาที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้มเท่านั้น บอกเลยว่าถ้าได้เข้ามาเรียนแล้วจะสนุกและติดใจสุดๆ เรียน PA ไม่จำเป็นต้องเป็นนักแสดงเพียงอย่างเดียว เราสามารถทำอาชีพได้หลากหลายตำแหน่งและครอบคลุมทุกมิติอุตสาหกรรมบันเทิง ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้กำกับการแสดง
- ผู้อำนวยการผลิต
- ผู้เขียนบท
- ผู้ออกแบบแสง
- ผู้ออกแบบฉาก
- ช่างแต่งหน้า
- ผู้ผลิตสื่อทั้งสื่อออนไลน์และสื่อดั้งเดิม
- นักวิจารณ์ละคร และภาพยนตร์
- สื่อมวลชนสายบันเทิง
- นักสร้างคอนเทนต์ออนไลน์
- เจ้าของธุกิจการแสดง