ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ที่ครบครันทันสมัย

ผู้นำด้านการสร้างการเรียนรู้แบบอุตสาหกรรมครบวงจร ทั้งอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ สตูดิโอถ่ายทำมาตรฐานเดียวกับอุตสาหกรรม

คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ ตั้งอยู่ที่อาคาร C4 หรือที่เรียกว่า Center for Cinematic and Digital Arts โดยมีชื่อย่อสั้นๆ คือ CCDA เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สร้างสรรค์งานภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลอย่างครบวงจร ประกอบด้วยพื้นที่ในอาคาร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1.      Production Zone

2.      Research and Resource Area

3.      Digital Post Production Zone

ภายในอาคาร ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการและเครื่องมือที่ทันสมัยเทียบเท่ามาตรฐานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ พร้อมอุปกรณ์ระดับ High-end อย่างเช่นกล้องถ่ายภาพยนตร์ ก็มีทั้ง Arri Alexa และ RED เป็นมาตรฐานเดียวกับอุตสาหกรรม

 

Studio 

Studio หรือโรงถ่ายทำภาพยนตร์ มีลักษณะเป็น Acoustic Studio ป้องกันการสะท้อนของเสียงและไม่ให้เสียง จากภายนอกหรือภายในเข้าออกโรงถ่าย สามารถวัดค่าความเงียบ (NC Noise Control) ได้ที่เพียง 26  ตัวโรงถ่ายมีขนาดใหญ่ ออกแบบและก่อสร้างโดยคำนึงถึงรูปแบบและลักษณะการใช้งานสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ โดยเฉพาะ สามารถรองรับการก่อสร้างฉากขนาดใหญ่ เช่น บ้าน2ชั้น รวมทั้งมีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์การจัดไฟต่างๆ ทั้งหมดนี้เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และสัมผัสการถ่ายทำภายใต้สภาพโรงถ่ายทำระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

 

 

Screening Room

เป็นห้องฉายภาพยนตร์ 2K ระบบ Dolby Digital 7.1 ห้องฉายมีขนาดใหญ่ กว้างขวาง สามารถรองรับผู้ชมได้จำนวน 120 คน จอฉายมาตรฐานโรงภาพยนตร์ พร้อมระบบเสียงรอบทิศทาง DOLBY Digital Surround Sound 7.1 Channel ซึ่งล้ำหน้ากว่าโรงฉายทั่วไป นอกจากนี้ยังรองรับการฉายภาพยนตร์ 3 มิติ (DOLBY 3D System) เพื่อให้ผู้ชมได้ซึมซับบรรยากาศและได้รับอรรถรสสูงสุดจากการรับชมภาพยนตร์

 

 

Film Research and Resource area

ศูนย์รวมแห่งการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ในทุกๆด้าน มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะแก่การพักผ่อน หย่อนใจ การประชุมวางแผนงานต่างๆ โดยภูมิทัศน์ภายในได้รับการออกแบบและตกแต่งอย่างทันสมัย กระตุ้นให้ ผู้เข้ามาใช้งานเกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์  รวบรวมหนังสือ, นิตยสาร, วิทยานิพนธ์, วารสารทางวิชาการ ด้านภาพยนตร์, และสื่อดีวีดี ไว้อย่างมากมายเพื่อรองรับการเรียนรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของนักศึกษา นอกจากนี้ยังได้พัฒนาระบบพื้นฐานสำหรับรองรับการจัดเก็บไฟล์ภาพยนตร์แบบดิจิทัล และฐานข้อมูลของภาพยนตร์

 

 

Ingest Station

ห้องปฏิบัติการสำหรับขั้นตอน Ingestion (การถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลลงในระบบเพื่อดำเนินการในขั้นตอนอื่น) โดย Ingest Station ได้ติดตั้ง Server และ SAN Storage ขนาดใหญ่เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ รองรับการทำงานด้านลำดับภาพ แบบ On-Line/Off-Line Editing อีกทั้งยังเดินสาย Fiber Optic ไปตามห้องปฏิบัติการต่างๆ ช่วยในการทำงานที่สะดวกขึ้น โดยที่นักศึกษาแต่ละคนจะมีบัญชีผู้ใช้งาน (Account) เป็นของตนเอง จึงสามารถเปิดโปรเจ็กต์งานที่กำลังทำอยู่ในห้องปฏิบัติการใดก็ได้ นอกจากนี้ Ingest Station ยังเป็นห้องเรียนรวมของชั้นเรียน Post-Production ทั้งหมด

 

 

Editing Station

รองรับกระบวนการตัดต่อลำดับภาพแบบ 4K (4K Editing Workflow) ด้วยระบบปฏิบัติ Adobe Premiere Pro และ Final Cut Pro X พร้อมคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงและจอแสดงผลระดับมาตรฐาน เสริมสร้างบรรยากาศใน การทำงาน ด้วยการออกแบบ ตกแต่ง ที่ล้ำสมัย เสมือนอยู่ในห้องตัดต่อของ Post-Production Studio มืออาชีพ นักศึกษาที่มีบัญชีผู้ใช้งาน (Account) สามารถเปิดโปรเจคของตนเพื่อดำเนินงานในขั้นตอน Post-Production ขั้นอื่นต่อไป ณ ห้องปฏิบัติการด้านเสียง, ด้านการทำสี, และเทคนิคพิเศษด้านภาพ

 

Color Grading Station

การแก้ไขและทำสีให้ภาพยนตร์เป็นทักษะชั้นสูงที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์กำลังต้องการ ภาควิชาภาพยนตร์ เล็งเห็นความสำคัญและโอกาสการทำงานในอนาคตของนักศึกษา จึงจัดสร้างห้องปฏิบัติการด้านการทำสีแบบครบครัน ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง, Color Grading Panels และจอแสดงผลที่แม่นยำระดับมาตรฐานสากลรวมถึงซอฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในอุตสหกรรมภาพยนตร์โลกอย่าง Da Vinci Resolve เพื่อให้นักศึกษาที่มีความสนใจ เฉพาะด้านนี้ ได้ฝึกฝน เสริมสร้างความเชี่ยวชาญ และพัฒนาทักษะ ให้เป็น Colorist ระดับมืออาชีพของวงการต่อไป

 

 

3D Animation and Visual effects Work Station

เข้าสู่มาตรฐานการทำVisual Effects ระดับสากล กับห้องปฏิบัติการ Digital Compositing นักศึกษาจะได้ เรียนรู้ ฝึกฝน และบ่มเพาะประสบการณ์การทำ VFX ด้วยซอฟแวร์ชั้นนำอย่าง NUKE พร้อมอุปกรณ์ล้ำสมัย มีประสิทธิภาพ การทำงานสูง อีกทั้งห้องปฏิบัติการนี้ยังสามารถรองรับการทำ Color Grading ได้อีกด้วย

 

 

Digital Mastering

ห้องปฏิบัติการสำหรับการทำต้นฉบับ Digital Cinema Package (DCP) หรือการสร้างระบบรักษา ความปลอดภัยทางด้านลิขสิทธิ์  ในขั้นตอนนี้จะมีการกำหนด Key Delivery Message (KDM) หรือรหัสในการกำหนดวัน เวลา รอบฉายกับทางโรงภาพยนตร์ ป้องกันไม่ให้เกิดการนำไฟล์หนังดิจิทัลไปเผยแพร่อย่าง ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยภายในห้องปฏิบัติการจะติดตั้งจอแสดงผลและระบบเสียงเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยสมบูรณ์ ขั้นสุดท้ายก่อนภาพยนตร์เข้าฉาย

 

 

Audio Post Production Station

ห้องปฏิบัติการด้านเสียงถูกออกแบบมาให้รองรับระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 (Dolby Surround 7.1) และรองรับการทำงานด้านเสียงในทุกรูปแบบ ทั้ง Sound Editing, Sound Mixing, Sound Design, Mastering, Foley รวมไปถึง Music Recording ซึ่งนับเป็น “All-In- One Station” เต็มรูปแบบอย่างแท้จริง เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ สร้างสรรค์ผลงาน และผลิตนวัตกรรมด้านเสียงต่อไปในอนาคต

 


Digital Imaging Lab: Photo Printing and 3D Printing Area

พื้นที่ใหม่สำหรับห้องปฏิบัติการด้าน Printing สำหรับนักศึกษาสื่อดิจิทัล ที่มีการจัดพื้นที่สำหรับนักศึกษาได้ทำงานทั้งการพิมพ์ภาพถ่าย และสามมิติ

 

นอกจากห้องปฏิบัติการที่ครบวงจรแล้ว ยังมีห้องสำหรับงานเบื้องหน้าที่ใช้ในการฝึกซ้อมการแสดง อย่างห้อง Rehearsal & Living Area เป็นส่วนพื้นที่กว้างๆ ออกแบบไว้อย่างสวยงาม เพื่อให้เหล่าศิลปินและนักแสดงมาใช้ฝึกซ้อมได้ ด้วยห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่เพียบพร้อม และอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดของยุค ได้สอดคล้องกับภารกิจหลักของ CCDA คือส่งเสริมและให้บริการทางการศึกษาตามแนวคิดอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลสมัยใหม่ มุ่งเน้นความเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ เพื่อผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความรอบรู้ มีหัวใจของผู้ประกอบการ เตรียมความพร้อมเข้าสู่วงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลทั้งไทยและสากลได้อย่างมีคุณภาพ

 

Acting Studio

สำหรับน้องๆ สายหน้ากล้องต้องได้มาห้องนี้แทบทุกคน ใช้สำหรับฝึกสกิลการแสดง ตั้งแต่การทำความเข้าใจตัวละคร การใช้จิตวิทยา ไปจนถึงการฝึกซ้อมให้เข้าถึงบทบาทอย่างจริงจัง ในห้องนี้มีกระจกบานใหญ่ที่ทำให้นักแสดงแต่ละคนเห็นสีหน้า ท่าทาง พร้อมปล่อยของออกมาได้ถึงอารมณ์มากขึ้นนั่นเอง

  • แหล่งที่มา: คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์
  • อัพเดทล่าสุด : 10 กุมภาพันธ์ 2566, 22:50:12 น.