Bangkok University Logo Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน
  • EN flag EN
Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน

Featured Stories

ข่าวสารและบทความ — ไขข้อสงสัย 2 สาขาโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ BU แตกต่างกันยังไง?
23/01/2025
ใช้เวลาในการอ่าน 4 นาที / 2849 คนอ่านบทความนี้

ไขข้อสงสัย 2 สาขาโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ BU แตกต่างกันยังไง?

โลจิสติกส์ คือ งานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยวิธีการและระบบที่เหมาะสม ทุกวันนี้ตลาดออนไลน์มีมากขึ้นการขนส่งเกี่ยวกับ E-Commerce จึงตามมา ทำให้การทำงานในวงการโลจิสติกส์เติบโตไปด้วย

โลจิสติกส์ คือ งานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยวิธีการและระบบที่เหมาะสม ทุกวันนี้ตลาดออนไลน์มีมากขึ้นการขนส่งเกี่ยวกับ E-Commerce จึงตามมา ทำให้การทำงานในวงการโลจิสติกส์เติบโตไปด้วย ถ้าน้องๆ สนใจสายงานนี้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มี 2 สาขาตอบโจทย์การเรียนด้านนี้โดยเฉพาะ นั่นคือ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มุ่งเน้นดิจิทัลคอมเมิร์ซโลจิสติกส์  2 สาขาที่ดูคล้ายแต่แตกต่างมาก คอนเทนต์นี้จะพาทุกคนไปรู้จักทั้ง 2 สาขานี้ให้มากขึ้น พร้อมไขข้อสงสัยสาขาไหนเหมาะกับใครบ้าง ตามไปดูกันเลย

 

 

สาขาวิชาการจัดการ

โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

 

มาทำความรู้จักกับสาขาแรกที่เน้นการเรียนรู้ด้านโลจิสติกส์โดยตรง ฝึกสกิลการคิดวิเคราะห์ การวางแผนด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานทั้งหมด การส่งมอบสินค้าแบบทันเวลา การจัดเก็บสินค้าและคลังสินค้า การกระจายสินค้าและบริการไปจนถึงลูกค้า ยกตัวอย่าง ถ้าน้องๆ ทำธุรกิจนำเข้าอาหารทะเลโดยต้องกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ ต้องมีระบบจัดการที่รวดเร็ว และตอบโจทย์กับสินค้า ที่สำคัญต้องไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการมากเกินไป นี่เป็นส่วนหนึ่งของงานโลจิกติกส์ค่ะ เพื่อสร้างความเป็นมือโปรเฉพาะด้าน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กิจกรรมการบริการด้านโลจิสติกส์ และ โลจิสติกส์เพื่ออุตสาหกรรม เป็นต้น

 

 

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

มุ่งเน้นดิจิทัลคอมเมิร์ซโลจิสติกส์

 

นอกจากงานหลังบ้านซึ่งก็คือการจัดการโลจิสติกส์แล้ว ในสาขานี้น้องๆ ยังต้องทำงานเกี่ยวกับหน้าบ้านด้วยเช่นกัน จึงทำให้สาขานี้เหมาะสำหรับน้องๆ ที่สนใจด้านโลจิสติกส์ที่เน้นไปทางคอมเมิร์ซ เช่น การขนส่งสินค้าออนไลน์ การจัดการระบบ การขนส่งให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว เป็นต้น เรียนรู้การทำงานในสายโลจิสติกส์และคอมเมิร์ซโลจิสติกส์ในขณะเดียวกัน เช่น การตลาดดิจิทัล ธุรกิจออนไลน์ ให้น้องๆ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างและพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์สมัยใหม่ นอกจากนี้ เรายังสร้างพื้นที่การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการงานด้านระบบและโปรแกรมต่างๆ ด้านการจัดการโลจิสติกส์

 

 

วิชาเรียนที่แตกต่าง

สร้างมือโปรเฉพาะทาง

 

จากวิชาเรียนทั้ง 2 สาขาจะเห็นถึงความแตกต่างในการเรียนมาก สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เน้นเรียนรู้ระบบและการจัดการด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลาย สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มุ่งเน้นดิจิทัลคอมเมิร์ซโลจิสติกส์ เน้นการเรียนศาสตร์ของโลจิสติกส์เบื้องต้นพร้อมเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทำงานทางคอมเมิร์ซง่ายมากขึ้น เช่น

  • การจัดการเพื่อการส่งออกและนำเข้า
  • การจัดการท่าเรือและเทอร์มินัล
  • การจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
  • กฎหมายเพื่อโลจิสติกส์
  • การจัดการการบริการลูกค้าสำหรับธุรกิจระดับโลก
  • การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการจัดการโลจิสติกส์
  • การประกันภัยเพื่อการดำเนินงานโลจิสติกส์
  • การวิเคราะห์และจัดทำแผนธุรกิจเพื่อการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • การจัดการยานพาหนะ
  • การควบคุมต้นทุนการผลิต
  • การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างชาญฉลาดสำหรับธุรกิจทางโลจิสติกส์
  • หลักการสำคัญของสื่อออนไลน์และการตลาดดิจิทัล 
  • ระบบสนับสนุนอัจฉริยะเพื่อโลจิสติกส์
  • การผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับธุรกิจดิจิทัล
  • หลักการการออกแบบกราฟิก
  • การจัดการโลจิสติกส์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์และโซ่อุปทานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
  • การขนส่งขั้นสุดท้ายในห่วงโซ่อุปทานสำหรับธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายย่อย

 

 

เรียนในห้องแลปโลจิสติกส์

ด้วยโปรแกรมจำลองธุรกิจ

 

อีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้น้องๆ เข้าใจการทำงานในธุรกิจ สามารถวิเคราะห์และวางแผนในการทำงานได้ โดยจะใช้ MonsoonSIM ซึ่งเป็นเกมส์จำลองทางธุรกิจ สายโลจิสติกส์ถ้าเข้าใจคอนเซปเกมส์ จะทำให้มองภาพได้กว้างขึ้นและ Flexsim และ โปรแกรม Simulation ที่จำลองการทำงานภายในคลังสินค้า การขนส่ง การผลิต ให้น้องๆ ฝึกวางแผนการทำงานได้อย่างแม่นยำก่อนทำงานจริง

 

 

เรียนจบโลจิสติกส์แล้ว

ทำอะไรได้บ้าง?

 

สายอาชีพในงานโลจิสติกส์น้องๆ สามารถทำได้หลากหลาย เช่น ฝ่ายบริหาร การจัดการ หรือนักวิเคราะห์ 

📍สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

  • ตัวแทนออกของ ผู้นำเข้าส่งออกสินค้า ทั้งทางอากาศ เรือ และ ถนน
  • นักวางแผนจัดซื้อและจัดหาวัตถุดิบ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ เป็นต้น
  • นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สำนักธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า) เป็นต้น
  • นักวิชาการ หรือนักวิจัยในสายโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
  • เจ้าของธุรกิจส่วนตัว นำเข้า-ส่งออกสินค้า

📍สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มุ่งเน้นดิจิทัลคอมเมิร์ซโลจิสติกส์

  • Service Project Management
  • Hub Manager
  • Logistic-Security Manager
  • Fulfillment Manager (FBL)
  • Business Analytics
  • เจ้าของธุรกิจ ทั้ง E-commerce Business Owner และธุรกิจต่างๆ ที่ต้องใช้องค์ความรู้โลจิสติกส์มาเกี่ยวข้อง 
แชร์บทความนี้
ข่าวล่าสุด
อินฟลูเอนเซอร์ ที่ฟอลโลเวอร์เลิฟ <3 ครีเอทคอนเทนต์คุณภาพและสร้างรายได้สุดปัง สาขาการสื่อสารและสื่อใหม่ มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์ คณะนิเทศศาสตร์
24/07/2025
อินฟลูเอนเซอร์ ที่ฟอลโลเวอร์เลิฟ <3 ครีเอทคอนเทนต์คุณภาพและสร้างรายได้สุดปัง สาขาการสื่อสารและสื่อใหม่ มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์ คณะนิเทศศาสตร์
หลักสูตรคุณภาพที่โดดเด่นและมาแรง พร้อมปั้นน้องๆ ที่มีความฝันอยากเป็นอินฟลูฯ ผลิตคอนเทนต์เจ๋งๆ เป็นตัวเองได้อย่างสร้างสรรค์
เจาะหลักสูตร FIP ทุกมิติ เรียนวางแผนการเงินและการลงทุน ต่อยอดอนาคตที่เหนือกว่า
15/07/2025
เจาะหลักสูตร FIP ทุกมิติ เรียนวางแผนการเงินและการลงทุน ต่อยอดอนาคตที่เหนือกว่า
สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีหลักสูตรเข้มข้น น้องๆจะได้เรียนรู้เพื่อต่อยอดอนาคตด้านการเงินและการลงทุนอย่างแข็งแกร่ง พร้อมอาชีพมาแรงที่เป็นที่ต้องการเสมอ
Leading Practical Law School เป็นนักกฎหมายสมัยใหม่ กับหลักสูตรนิติศาสตร์ทันเทรนด์ ที่ ม.กรุงเทพ
14/07/2025
Leading Practical Law School เป็นนักกฎหมายสมัยใหม่ กับหลักสูตรนิติศาสตร์ทันเทรนด์ ที่ ม.กรุงเทพ
หลักสูตรที่มุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรด้านกฎหมาย ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักกฎหมายอย่างลึกซึ้ง ผ่านการเรียนรู้ที่ทันสมัยด้วยการซับพอร์ตที่เหนือกว่า
รันวงการช็อปออนไลน์! &nbsp;ที่สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มุ่งเน้นดิจิทัลคอมเมิร์ซโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
09/07/2025
รันวงการช็อปออนไลน์!  ที่สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มุ่งเน้นดิจิทัลคอมเมิร์ซโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
โลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซจึงเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โอกาสการทำงานในสายนี้ไม่เพียงแต่จะเปิดกว้างในระดับประเทศ แต่ยังสามารถขยายสู่ระดับนานาชาติได้
Cosmetic Image
ก้าวเข้าสู่โลก
แห่งการเรียนรู้
ไปกับ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
พร้อมแล้วหรือยังที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ไปกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ให้เราช่วยเลือกหลักสูตร คณะ สาขาหรือต้องการติดต่อกับเรา
  • หลักสูตรปริญญาตรี
  • หลักสูตรปริญญาโท
  • หลักสูตรปริญญาเอก
  • หลักสูตรนานาชาติ
  • สำหรับผู้ปกครอง

ข้อมูลการศึกษา

  • คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน
  • สิ่งอำนวยความสะดวก
  • ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา

ข้อมูลการสมัคร

  • สมัครเรียน
    สมัครเรียน
    สมัครเรียน
    สมัครเรียน
    สมัครเรียน
  • ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน
  • วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร
  • ทุนการศึกษา
  • คำถามที่พบบ่อย คำถามที่พบบ่อย คำถามที่พบบ่อย คำถามที่พบบ่อย

ติดต่อมหาวิทยาลัย

  • เยี่ยมชม
  • กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย
  • ข้อมูลเกี่ยวกับศิษย์เก่า
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
Cosmetic Image
หน้าหลัก
Featured Stories
BU Insight
ไขข้อสงสัย 2 สาขาโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ BU แตกต่างกันยังไง?
Bangkok University Logo
ข้อมูลมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ ม.กรุงเทพ ข่าวสาร ปฏิทินการศึกษา สมัครเรียน ค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษา นักศึกษาปัจจุบัน คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แผนที่มหาวิทยาลัย ติดต่อเช่าสถานที่ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัย ร่วมงานกับเรา
สำหรับนักศึกษา BU URSA BU Links สำหรับบุคลากร MyBU
Copyright © 2025 Bangkok University. All rights reserved.
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เกี่ยวกับการใช้งานคุ้กกี้
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกรณีทั่วไป