นักวางแผนการลงทุน (IP)
อาชีพนักวางแผนการลงทุน หรือ IP ย่อมาจาก Investment Planner ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการลงทุนกับนักลงทุน โดยต้องวางแผนการลงทุน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก กำหนดกลยุทธ์แบบเจาะจง และกำหนดเป้าหมายในการลงทุน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ มาใช้ประกอบคำแนะนำ เพื่อให้เกิดความแม่นยำและเกิดความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ คนที่จะทำอาชีพนี้ จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพและสอบผ่าน IP License หรือหลักสูตรตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
อาชีพคนกลางที่ติดต่อระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น ธนบัตร หุ้น หรือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำงานอยู่ในบริษัทหลักทรัพย์ เช่น บลจ.กสิกรไทย บลจ.ทิสโก้ บลจ.ธนชาติ เป็นต้น มีหน้าที่ชักชวนให้ผู้ซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์
ผู้แนะนำการลงทุน (IC)
ผู้แนะนำการลงทุน หรือ IC ย่อมาจาก Investment Consultant มีหน้าที่ขายหรือให้คำแนะแนะการลงทุน ต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญในการลงทุนประเภทนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ลงทุนไว้ใจ อาชีพนี้ทำงานในสังกัดผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนาคาร หรือบริษัทประกันชีวิต โดยจะต้องมีใบอนุญาตในการแนะนำการลงทุน หรือ IC license คือใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analyst)
นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การเงิน การเกษตร หรือแรงงาน เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และต้องคอยศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากกฎหมายหรือนโยบายใหม่ๆ และต้องคาดการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต มีแผนจำลอง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหานั้นได้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจสามารถให้คำแนะนำทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้ และยังสามารถเป็นอาจารย์สอนในวิชาเศรษฐศาสตร์ได้อีกด้วย
นักลงทุน (Investor)
อาชีพของสายสะสมประสบการณ์ มีหน้าที่ ในการมองหาบริษัทที่น่าสนใจ เหมาะกับการนำเงินไปลงทุน เพื่อเป็นหุ้นส่วนในกิจการใดกิจการหนึ่ง และถือเป็นการลงทุนระยะยาวที่ได้ค่าตอบแทนคุ้มค่า ซึ่งการเป็นนักลงทุนต้องใช้ประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะผลกระทบต่อธุรกิจ ภาพรวมของเศรษฐกิจและองค์กร รวมถึงต้องมีเงินมากพอ ที่จะเข้าร่วมถือหุ้นหรือลงทุนในองค์กรนั้นๆ ใครอยากเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ต้องลองวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ หรือลองลงทุนระยะสั้น เพื่อสะสมความรู้ไว้ ก่อนลงทุนระยะยาว
ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager)
ผู้จัดการกองทุน มีหน้าที่ดูแลการลงทุนของผู้ซื้อกองทุน ผ่านการบริหารการเงินที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ และจะได้รับค่าตอบแทนตามที่ตกลงไว้ สายงานนี้ต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และวางแผนค่อนข้างละเอียด ทำให้ได้ค่าตอบแทนสูงสุดๆ ส่วนใหญ่จะทำงานที่ บริษัททรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บริษัทประกันชีวิต ธนาคาร หรือข้าราชการในกองทุนของภาครัฐ โดยผู้จัดการจะถูกแบ่งให้จัดการตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น ผู้จัดการกองทุนตราสารต่างประเทศ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนตราทุน
นักวิเคราะห์การลงทุน (Investment Analyst)
นักวิเคราะห์การลงทุน หรือ Investment Analyst ทำหน้าที่วิเคราะห์การลงทุน
และคาดการณ์ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะมี 2 ประเภท
1.นักวิเคราะห์เชิงปัจจัยพื้นฐาน เก็บข้อมูลแบบเจาะลึกในหลักทรัพย์ หรือธุรกิจ เพื่อสามารถคาดเดาการเติบโตของธุรกิจในอนาคต แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินมูลค่าตามความเหมาะสม พร้อมทั้งแนวโน้มการจ่ายเงินปันผลในอนาคต
2.นักวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค คือการใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อให้เข้าใจจุดซื้อและจุดขายของหลักทรัพย์ และทำให้ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนตามต้องการมากที่สุด
นักวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงิน
นักวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงิน ทำหน้าที่วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงินให้กับภาครัฐ เอกชน บริษัทสายการเงิน หรือธนาคาร เป็นต้น เพื่อไม่ให้องค์กรเสียผลประโยชน์ทางการเงิน เพราะองค์กรต่างๆ จะมีธุรกรรมทางการเงินเยอะมาก มีความเสี่ยงสูง และเกิดความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งปัจจุบันและอนาคต มีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอด พร้อมมีแผนสำรองเพื่อควบคุมความเสี่ยงให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หรือไม่ทำให้องค์กรเกิดความเสียหาย
วาณิชธนากร (IB)
วาณิชธนากร หรือ IB ย่อมาจาก Investment Banker คืออาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน
มีหน้าที่ให้คำปรึกษาทางการเงินให้กับลูกค้าที่ต้องการขยายกิจการ หรือหาพาร์ทเนอร์ร่วมลงทุนให้กับบริษัทที่ต้องการ ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือแม้แต่การเตรียมบริษัทเข้าสู่ตลาดหุ้น อาชีพนี้จะต้องมีความรู้เรื่องธุรกิจพร้อมการเงินและการลงทุน ละเอียดรอบคอบ และอัปเดทข่าวสารเศรษฐกิจตลอดเวลา เพื่อสามารถให้ข้อมูลการลงทุนที่ครบและแม่นยำมากที่สุด