Featured Stories
ข่าวสารและบทความ — อยากเป็น Start-up แบบนัมโดซานต้องเรียนสาขาอะไรใน ม.กรุงเทพ
ซีรีส์จบแล้วแต่ความอินยังไม่จบ หลังจากซีรีส์ที่กระแสมาแรงอย่าง Start-Up ซีรีส์เกาหลีที่เล่าเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำธุรกิจของกลุ่มวัยรุ่น และนำเสนอแนวคิดใน วงการสตาร์ทอัพ จนหลายคนเริ่มมี Passion ที่อยากทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ มาดูกันเลยว่า หากใครอยากเป็นนักพัฒนาโปรแกรมเมอร์ที่อยากนำไปต่อยอดธุรกิจด้านเทคโนโลยีแบบ “นัมโดซาน” และเหล่าแก๊งค์เพื่อนๆ “ซัมซานเทค” จะเหมาะกับการเรียนในสาขาไหนใน ม.กรุงเทพ ที่ตอบโจทย์บ้าง ไปดูกันเลย
ดูซีรีส์ Start-Up จบ แล้วมี Passion อยากเป็นแบบนัมโดซาน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ โปรแกรมเมอร์ หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ มาเรียนที่ ม.กรุงเทพ ในสาขาเหล่านี้ ตอบโจทย์ความฝันของใครๆหลายคน อย่างแน่นอน
อยากเรียนเหมือนนัมโดซานเป๊ะๆ ต้องสาขานี้เลย อย่างในซีรีส์เราจะเห็นว่านัมโดซานเรียนจบด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มาโดยตรง มีความสามารถด้านการเขียนโค้ดและเขียนโปรแกรม จนสามารถพาทีมเข้าร่วมแข่งขันในแฮกกาธอนและเข้า Sand Box ได้ในที่สุด สำหรับสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ นักศึกษาจะได้เรียนรู้งาน ทั้ง Hardware และ Software ทางด้านคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ โดยเน้นทั้งทฤษฎี การปฏิบัติ และสร้างผลงานจริง ซึ่งปัจจุบันเป็นอาชีพใหม่ที่ตลาดงานด้านไอทีกำลังต้องการเป็นอย่างมากเลยทีเดียว นอกจากนี้ในหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังมีผนวกวิชาที่ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อนำไปต่อยอดการทำธุรกิจอีกด้วย
หากใครคนไหนที่สนใจด้าน A.I. อยู่แล้ว ตอนดูซีรีส์ก็คือจะอินมาก! เพราะเกือบทั้งเรื่องจะเห็นไอเดียธุรกิจหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมาเป็นจุดเริ่มต้น อย่างเพื่อนๆ ที่รวมตัวกันเปิดบริษัทในชื่อ “ซัมซานเทค” ถือว่าเป็น Start-up ที่ทำธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ A.I. มาพัฒนาเป็นบริการ เช่น นัมโดซานได้ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ในการตรวจจับใบหน้าและโปรแกรมวิเคราะห์ลายมือ โดยแยกลายมือจริงกับลายมือปลอม เพื่อป้องกันการปลอมเอกสารมาเป็นหนึ่งไอเดียในการทำธุรกิจ สำหรับสาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นหลักสูตรแรกระดับปริญญาตรีในไทยที่เปิดสอนในด้าน A.I. (Artificial Intelligence) นักศึกษาจะได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้งาน A.I. & Data Science เข้ากับภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อให้เทคโนโลยีทำงานช่วยเราได้นั่นเอง สามารถทำอาชีพในหลากหลายในวงการไอที ไม่ว่าจะเป็นอาชีพวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฮาร์ดแวร์ ผู้เช่ียวชาญในการป้องกันความปลอดภัยข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ในหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังมีผนวกวิชาที่ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อนำไปต่อยอดการทำธุรกิจอีกด้วย
จะเกิดอะไรขึ้นหากธุรกิจที่เราทำ วันหนึ่งอยู่ๆ โดนโจมตีเรียกค่าไถ่หลายร้อยล้านจนกระทบกับการทำงานเหมือนเหตุการณ์ในซีรีส์ที่โดนแฮกเกอร์โจมตีระบบจาก “แรนซัมแวร์” จนตัวละครอย่างนัมโดซานที่มีความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ได้ใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้มา และสามารถรักษาข้อมูลของบริษัทจากการโดนเจาะระบบไว้ได้ สำหรับสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และวิทยาการข้อมูล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เหมาะสำหรับใครที่ชอบความท้าทายในการทำงาน และมีความสนใจทางด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) รวมถึงเรียนรู้การวิเคราะห์เจาะลึกด้านการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างข้อมูล การดึงข้อมูลจาก Channel ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Mobile App, LINE, Website หรืออื่นๆ นักศึกษาจะได้เรียนเกี่ยวกับการป้องกันการโดนแฮกหรือเจาะระบบ เพื่อทำลายข้อมูลต่างๆ ถือว่าเป็นการเรียนที่สนุกและน่าตื่นเต้นมากๆ สาขาหนึ่งเลย
อยากทำแอปพลิเคชันเป็นของตัวเองแบบนัมโดซานต้องเรียนสาขานี้เลย! ในซีรีส์จะเห็นว่านัมโดซานเป็นคนเริ่มต้นพัฒนาบริการแอปฯ “นุนกิล” ที่ใช้ระบบสั่งการด้วยเสียงและกล้องจากโทรศัพท์ เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเขียนโค้ด และการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ นั่นเองใครที่สนใจสาขาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะได้เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างผลงานที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจด้าน Tech Startup ได้ หรือเป็น Full Stack Developer รวมถึงได้เรียนเกี่ยวกับการพัฒนา Mobile Application โดยใช้ความสามารถด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจัดการระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล เครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยเทคโนโลยี เป็นต้น
แห่งการเรียนรู้
ไปกับ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ให้เราช่วยเลือกหลักสูตร คณะ สาขาหรือต้องการติดต่อกับเรา
ข้อมูลการศึกษา
ข้อมูลการสมัคร
ติดต่อมหาวิทยาลัย