Featured Stories
คณะวิศวกรรมศาสตร์ — ข่าวสารและบทความ — 7 อาชีพสุดล้ำ! รันวงการคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ในยุคดิจิทัลและการใช้ชีวิตมีเทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวัน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ อาชีพวิศวกรคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์จึงเป็นอาชีพที่ในตลาดต้องการตัวเป็นอย่างมาก ใครที่สนใจทาง ด้านคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ อาชีพเหล่านี้อาจตอบโจทย์!
สายอาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ มีตลาดงานกว้าง ครอบคลุมในส่วนของ Programmer, IT, Smart System, Robotics & Automation ทำให้วงการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ยังคงต้องการบุคลากรที่มีความสามารถอีกจำนวนมาก เป็นสายอาชีพที่มาแรงติดเทรนด์โลกในยุคนี้อีกด้วย
หากใครอยากเรียนทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ พร้อมตอบโจทย์ยุคโลกอนาคต ไม่ตกเทรนด์ ซึ่งล่าสุดสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ ได้เพิ่มวิชาเลือกใหม่ๆ ที่ทันสมัย เช่น Blockchain technology & Cryptocurrency, Cybersecurity & Cloud service, Real-time OS (3d Sensing, Mapping), Robotics simulation, Collaborative robots. หากอยากรู้ว่าเรียนจบแล้วจะสามารถทำอาชีพอะไรได้บ้างตามไปดูกันเลย!
นักพัฒนาเว็บไซต์ Full Stack
Full Stack Developer
หน้าที่ของนักพัฒนาเว็บ Full Stack มีทั้งออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ หรือการจัดการฐานข้อมูลและฟังก์ชันต่างๆ ของเว็บไซต์ พัฒนาทั้งในส่วนของ Front End และ Back End ซึ่งการเป็น นักพัฒนาเว็บ Full Stack (Full Stack Developer) เป็นอาชีพที่มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเว็บไซต์เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสาร และการทำธุรกิจออนไลน์ต่างๆ คนอาชีพนี้จึงมีความสำคัญเพราะต้องเป็นคนที่สามารถดูแลระบบทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านของเว็บไซต์ได้นั่นเอง
และเนื่องจากเว็บไซต์มีความสำคัญในการธุรกิจและชีวิตประจำวัน นักพัฒนาเว็บไซต์เลยมีโอกาสงานเข้ามามาก และเป็นที่ต้องการในตลาด ต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยนักพัฒนาเว็บไซต์มีบทบาทสำคัญในการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีสำหรับผู้ใช้งานในสายธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่
นักพัฒนาแอปพลิเคชัน
Application Developer
นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (Application Developer) เป็นบทบาทที่สำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสาร งานของนักพัฒนาแอปพลิเคชันคือการสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น iOS, Android, และเว็บไซต์ ซึ่งนักพัฒนาแอปพลิเคชันจะต้องมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา การทำงานร่วมกับทีม และการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานนั่นเอง
นักพัฒนาซอฟต์แวร์
Software Developer
งานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ คือการออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ มีความเสถียรและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้และธุรกิจ ซึ่งนักพัฒนาซอฟแวร์ต้องมีการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีและเครื่องมือใหม่ๆ อยู่เสมอและทำการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ออกแบบโครงสร้างและวิธีการทำงานของซอฟต์แวร์ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบัน
โปรแกรมเมอร์
Programmer
โปรแกรมเมอร์ นับเป็นตำแหน่งงานที่กำลังเป็นที่ต้องการ เพราะหน้าที่หลักของโปรแกรมเมอร์ คือ การออกแบบ เขียนโค้ดสำหรับสร้าง พัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันให้ทำงานตามคำสั่งที่กำหนด ซึ่งนอกจากทักษะด้านคอมพิวเตอร์แล้ว ยังควรจะต้องมีทักษะในการแก้ไขปัญหา เพื่อรับฟังความต้องการของลูกค้าเพื่อนำมาออกแบบโปรแกรมให้ได้ และยังต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ มีความละเอียด รอบคอบ และช่างสังเกตอีกด้วย
วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม
ควบคุมระบบและหุ่นยนต์
อีกหนึ่งอาชีพที่มาแรงในยุคนี้นั่นก็คือ วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม ควบคุมระบบและหุ่นยนต์ ซึ่งยุคนี้หุ่นยนต์ มีแนวโน้มเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อาชีพนี้มีหน้าที่ดูแลระบบหุ่นยนต์ พัฒนาโปรแกรมให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมตั้งแต่ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรม พัฒนาโปรแกรมที่มีอยู่ และแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยต้องทำงานร่วมกับงานวิศวกรรมทั่วไป ดังนั้นจำเป็นที่จะมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ดีอีกด้วย
ผู้ประกอบกิจการ
หรือนักพัฒนานวัตกรรม
ผู้ประกอบกิจการหรือนักพัฒนานวัตกรรม เป็นอีกหนึ่งบทบาทอาชีพที่สำคัญ ที่มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่ต้องมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงวิธีการทำงาน เป็นบทบาทที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องทำความเข้าใจความต้องการของตลาดและผู้ใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ตอบโจทย์ และต้องวางแผนและการจัดการระบบต่างๆ ในการพัฒนานวัตกรรม รวมไปถึงการทำงานร่วมกับทีมให้ทำงานได้อย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาในนวัตกรรมต่างๆให้มีความเสถียรมากที่สุด
นักพัฒนาบล็อกเชน
Blockchain Developer
นักพัฒนาบล็อกเชน (Blockchain Developer) มีหน้าที่ในการสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชัน สร้างแอปพลิเคชันที่ใช้งานบล็อกเชนเพื่อเก็บข้อมูล ทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งตอนนี้บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ ส่งผลให้บุคลากรในวงการนี้ยังมีน้อย เพราะนักพัฒนาบล็อกเชนจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรม ใช้ความเข้าใจในหลักการทำงานของบล็อกเชน และทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบล็อกเชนนั่นเอง