Featured Stories
คณะวิศวกรรมศาสตร์ — ข่าวสารและบทความ — เปิดตัว “น้องไดมอนด์” หุ่นยนต์ผู้ช่วยหอสมุด ผลงานทีม BU ROBOT STUDIO
ทีม BU ROBOT STUDIO คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมมือกับ หอสมุด ม.กรุงเทพ ร่วมกันดีไซน์ไอเดียนวัตกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแพลตฟอร์มจัดการอาคารอัจฉริยะลูก้าคอร์ (LUCA Core: The Next Generation of Building Automation Platform) ที่จะช่วยให้ควบคุมการใช้พลังงานภายในอาคารอย่างประหยัด ตรวจสอบสถานะการทำงานของระบบต่างๆ ภายในอาคาร รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัย และพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์บริการภายในอาคาร
LUCA Core แพลตฟอร์มจัดการอาคารอัจฉริยะลูก้าคอร์
LUCA Core (The Next Generation of Building Automation Platform) เป็นแพลตฟอร์มจัดการอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานอาคารอัจฉริยะที่ทีม BU ROBOT STUDIO ช่วยกันพัฒนาขึ้นมา โดยเน้นศึกษาพฤติกรรมการใช้พลังงาน สถานะการทำงานของส่วนต่างๆ ภายในอาคาร รวมถึงควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์บริการให้มีการทำงานร่วมกัน โดยแพลตฟอร์มจะทำการรับค่าผ่านอุปกรณ์ LUCA Smart Box ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (IoT: Internet of Things) ที่นักศึกษาได้ร่วมกันออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยสามารถสื่อสารกับอาคารได้ทั้งระบบ ตอนนี้นำร่องทดลองการทำงานอยู่ที่ห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ คณะวิศวะฯ และชั้น 4 อาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
"น้องไดมอนด์" หุ่นยนต์ผู้ช่วยหอสมุดคนใหม่
หุ่นยนต์บริการภายในหอสมุด เดิมชื่อว่าหุ่นยนต์บริการเทมี่ (temi) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ซัลวาทอร์ เทค จำกัด บริษัทพาร์ทเนอร์กับทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยทางบริษัทได้มอบหุ่นยนต์บริการให้ทางคณะเพื่อให้นักศึกษาได้ลองคิดค้นและสร้างสรรค์โปรเจกต์ใหม่ๆ ซึ่งพอดีกับทางหอสมุดได้เห็นถึงประโยชน์ของหุ่นยนต์ที่สามารถนำมาให้บริการงานหอสมุดได้ จึงได้หาแนวทางร่วมกัน เกิดเป็นไอเดีย “น้องไดมอนด์ หุ่นยนต์ผู้ช่วยอัจริยะสำหรับหอสมุด” โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาพัฒนาโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการจากผู้ใช้งาน โดยนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงในทุกขั้นตอน และฝึก Creative Engineering เพื่อให้ได้เรียนรู้เรื่องของวิศวะพร้อมผลักดันให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
สมาชิก BU ROBOT STUDIO รุ่นที่ 1
การจัดตั้งทีม BU Robot Studio ขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาที่มีความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ หรือรวมถึงเทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligent) ได้มาลองทำกิจกรรมร่วมกัน โดยแนวทางการพัฒนานักศึกษาของ BU ROBOT STUDIO จะผลักดันให้นักศึกษาประสบความสำเร็จ เกิด Passion ใหม่ๆและใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองได้ โดยทุกคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แชร์มุมมองที่หลากหลายและนำความคิดเหล่านั้นมารวมกันสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
สมาชิก BU ROBOT STUDIO รุ่นที่ 1 นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ และสาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล คณะวิศวกรรมศาสตร์
นางสาวรัตนพร ชัยที (เบียร์) ตำแหน่ง Head Project/ Senior Service Robot Ambassador
นางสาวชณัญญา สุทธิ (เกี๊ยวซ่า) ตำแหน่ง Junior Service Robot Ambassador
นายสนธยา ถาวรวิริยะนันท์ (แบงค์) ตำแหน่ง Junior Service Robot Ambassador
หน้าที่หลัก พัฒนาโปรแกรม ออกแบบส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้ (UX/UI) ในการทำงานต่างๆ ให้ตอบสนองความต้องการที่ได้รับ รวมถึงแนะนำฟังก์ชั่น เสนอไอเดียใหม่ๆ
นายพัสสน มัติพงษ์ (บอล) ตำแหน่ง Software Developer
นางสาวชาลิกา เปาเรล (ณิชา) ตำแหน่ง UX/UI Designer
นางสาวชนากานต์ ชีววัฒนรัตน์ (มีน) ตำแหน่ง LUCA Smart Box Designer
หน้าที่หลัก ดูแล LUNA Core แพลตฟอร์มการจัดการอาคารอัจฉริยะ ตรวจสอบการทำงานของเซนเซอร์ ระบบการจัดการพลังงาน ดูแลแดชบอร์ด (Dashboard) และอุปกรณ์อัจฉริยะ LUCA Smart Box ทั้งหมด ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล รวมถึงใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการพลังงาน
นายปฏิพัทธ์ มีศิริ (โอเมก้า) ตำแหน่ง Lab Master ดูแลภาพรวมของโปรเจกต์ให้เสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนด และช่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกในทีม
นายพัฒนพล ตระกูลวิวัฒน์ (โจ๊ก) และนางสาวมุคิตา สิมมาจันทร์ (มะเหมี่ยว) ตำแหน่ง Senior Administrator รับหน้าที่เป็นสายสนับสนุนงาน คอยช่วยและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งประสานงานในแต่ละฝ่ายเพื่อให้โปรเจกต์เกิดความเรียบร้อย
ติดตามผลงานและให้กำลังใจอาจารย์และนักศึกษาทีม BU ROBOT STUDIO
Facebook: www.facebook.com/BURobotStudio
Instagram: @burobotstudio
TikTok: @burobotstudio