Featured Stories
ข่าวสารและบทความ — 10 อาชีพแห่งอนาคต ตอบโจทย์ที่ BU
มาต่อยอดสกิลเพื่อทำอาชีพแห่งอนาคตที่ BU สายงานที่กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น เห็นได้ชัดจากสายงานที่มาแรงสุดๆ คืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น Big Data, AI, Machine Learning, IoT รวมทั้ง Digital Marketing เป็นต้น
ใครที่อยากเรียนด้านนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ มาที่ ม.กรุงเทพ มีหลักสูตรทันสมัยที่ตอบโจทย์ ถ้าอยากรู้ว่า 10 อาชีพแห่งอนาคตจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ปัจจุบันบนโลกดิจิทัลมีฐานข้อมูลมากมายมหาศาล ทั้งข้อมูลแบบทั่วไป รวมถึงข้อมูลขององค์กรหรือบริษัท ทำให้อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูลและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Analysts and Scientists) เป็นที่ต้องการมากในยุคปัจจุบัน ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่มีไปพัฒนาหรือต่อยอดในอนาคต สามารถคาดการณ์แนวโน้มความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามโจทย์นั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Data Analysis, Data Visualization, การใช้ภาษาเขียนโปรแกรม (Python, SQL, Tableau & Power BI หรือ pySpark) หรือการวิเคราะห์ความต้องการ (Requirements Analysis) เป็นต้น
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คลิก
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นมุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คลิก
จะดูหนังใน Netflix สักเรื่อง แต่ทำไมระบบดันรู้ใจว่าเราอยากดูเรื่องอะไร? หรือ ซื้อของใน shopee ทีไร ระบบก็แนะนำสินค้าที่เกี่ยวข้องได้โดนใจทำให้ต้องกดเพิ่มเข้าตะกร้าทุกที? นี่เป็นตัวอย่างบางส่วนของ AI ที่สามารถเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของกลุ่มลูกค้าออนไลน์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ อาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของระบบคอมพิวเตอร์ (Al and Machine Learning Specialists) ซึ่งมีหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบ AI ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ที่นำไปใช้งาน ซึ่งอาชีพนี้บ่อยครั้งที่ทำงานร่วมกับอาชีพ Data Scientist เพื่อออกแบบสร้างระบบ AI ที่เรียนรู้จากข้อมูลธุรกิจจำนวนมากทั้ง ภาพ เสียง ข้อความ วีดีโอ ให้สามารถนำไปสร้างความยั่งยืนให้ภาคธุรกิจได้ โดยทักษะที่จำเป็นในสายอาชีพนี้คือ การเขียนโปรแกรม (Programming) ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเข้าใจทางธุรกิจ
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล คลิก
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คลิก
ความสำคัญของข้อมูล (Data) คือการนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ หรือนำมาศึกษาต่อเพื่อใช้ประโยชน์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นด้วยปริมาณมากมายมหาศาลของข้อมูล หลายธุรกิจจึงต้องมีคนทำหน้าที่นี้ ทำให้อาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลจัดการข้อมูลขนาดมหาศาล (Big Data Specialists) เป็นที่ต้องการขององค์กร เพื่อนำข้อมูลขององค์กรมาวิเคราะห์เชิงลึก โดยการใช้ฟังก์ชันเครื่องมือต่างๆ และเทคโนโลยีมาใช้ประกอบกัน รวมทั้งการหาวิธีรับมือและการดูแลระบบความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลได้ ทักษะที่สำคัญ คือการเขียนโปรแกรม (Programming), การใช้ภาษาเขียนโปรแกรม (Python, SQL, Tableau & Power BI หรือ pySpark) นั่นเอง
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คลิก
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คลิก
วางแผนธุรกิจให้มีกำไรต้องเข้าใจการตลาด สำหรับอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการวางแผนยุทธศาสตร์ (Digital Marketing and Strategy Specialists) คือคนสำคัญที่จะวางแผนกลยุทธ์และดูแลภาพรวมของการทำการตลาดให้กับธุรกิจและองค์กร ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค วิเคราะห์ข้อมูลสถิติในเชิงลึก เพื่อนำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและสื่อสารเนื้อหาไปยังกลุ่มเป้าหมาย เช่น การวางกลยุทธ์คอนเทนต์ การทำโฆษณา การทำการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดของต่างประเทศ ทักษะของคนที่ทำอาชีพนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักการด้านการตลาด และการใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ในการทำงาน
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะบริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาการจัดการ คลิก
- สาขาวิชาการตลาด คลิก
- สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล คลิก
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คลิก
เมื่องานที่เราทำซ้ำๆ เป็นประจำอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป สำหรับอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการทำงานอัตโนมัติ (Process Automation Specialists) คือคนที่ออกแบบกระบวนการทำงานหรือการตัดสินใจต่างๆ เพื่อลดโอกาสผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ซึ่งสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง งานที่กล่าวถึงจะเป็นประเภทงานที่สำคัญแต่คนที่ทำงานมีเวลาไม่มากพอ งานที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว รวมถึงงานที่มีปริมาณมาก ด้วยเหตุนี้การนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาเป็นตัวช่วยก็จะลดเวลาการทำงานของเราได้ดี ใช้ตั้งแต่ธุรกิจขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็ก เช่น การประยุกต์นำหุ่นยนต์มาช่วยในงาน Logistic และ Supply Chain การออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์/ฮาร์ดแวร์เพื่อนำมาใช้ในงานด้าน Human Resource (HR) ด้านการเงินการบัญชี ในองค์กร หรือแม้กระทั้งการพัฒนาตัวของซอฟต์แวร์เองที่ก็สามารถออกแบบและทำให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติได้
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล คลิก
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คลิก
อีกหนึ่งสายงานที่ในอนาคตทุกองค์กรต้องการบุคลากรด้านนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจ (Business Development Professionals) มีหน้าที่วางแผนกลยุทธ์ พัฒนา หาแนวคิด การบริหารความเสี่ยง หรือวิธีการต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของธุรกิจให้ตอบโจทย์บริษัท รวมถึงวิเคราะห์และพยากรณ์โอกาสทางธุรกิจ เพื่อพัฒนาทิศทางขององค์กรให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ คนที่จะทำอาชีพในตำแหน่งนี้ต้องมีทักษะความรู้ด้านการบริหาร การตลาด และการสื่อสารที่ดี
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะบริหารธุรกิจ
- สาขาวิชาการจัดการ คลิก
- สาขาวิชาการตลาด คลิก
- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คลิก
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น หากองค์กรใดยังไม่ปรับตัว อาจกระทบต่อธุรกิจอย่างแน่นอน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในธุรกิจถือว่ามีความสำคัญและต้องปรับตัวให้ทัน จึงเป็นที่มาของอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการในการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งใหม่ (Digital Transformation Specialists) เพื่อเข้ามาช่วยวางแผนกลยุทธ์ให้กับองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้ทันต่อโลกเศรษฐกิจและความอยู่รอดของธุรกิจที่ในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คลิก
นักวิเคราะห์การรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Information Security Analysts) หนึ่งในอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสายงานไอที ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ทำหน้าที่วิเคราะห์และดูแลความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการระบบ ดูแลตรวจสอบ การประเมินความเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูล และการเฝ้าระวังการถูกขโมยข้อมูล เพื่อให้บริษัทหรือองค์กรสามารถป้องกันข้อมูลเอาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในปัจจุบันข้อมูลมีช่องโหว่สามารถรั่วไหลได้ตลอดเวลา เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน รูปภาพ เป็นต้น ซึ่งอาจแฝงมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ การดาวน์โหลดไฟล์แปลกๆ หรือข้อความทาง SMS ก็เป็นได้ ทำให้อาชีพนี้มีความสำคัญอย่างมากนั่นเอง
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คลิก
นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน (Software and Applications Developers) ลักษณะการทำงานคือ ออกแบบวิเคราะห์ระบบ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ จัดทำทีม การเขียนโปรแกรม การติดตั้งระบบเพื่อให้ใช้งานได้จริง มีความเสถียรและตามทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ ทักษะที่ควรมีเมื่อทำอาชีพนี้ คือการวิเคราะห์วางแผน กล้าตัดสินใจ สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ชอบติดตามเทคโนโลยีและอุปกรณ์ใหม่ๆ และการป้องกันการถูกแฮ็กข้อมูลจากแฮ็กเกอร์ได้ จะเป็นทักษะช่วยส่งเสริมตำแหน่งงานด้านนี้ได้ดีเลยทีเดียว โดยปัจจุบันองค์กรหรือบริษัทต่างๆ ก็ต้องการบุคลากรเข้าไปพัฒนาระบบ ยังเป็นอาชีพที่มาแรงเป็นที่ต้องการของตลาดงานและที่สำคัญเงินเดือนสูงมากๆ
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คลิก
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คลิก
- สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ คลิก
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คลิก
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเชื่อมโยงของอุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet of Things Specialists) คือคนออกแบบและพัฒนาระบบ IoT ที่จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่สามารถรับส่งข้อมูลกัน ตัดสินในร่วมกัน และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องจักรในอุตสาหกรรมโรงงาน หรือสามารถประยุกต์นำไปใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดต้นทุนของธุรกิจได้ดีในอนาคต ดังนั้นคนที่จะมาทำในสายงานนี้จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
สาขาที่ตอบโจทย์อาชีพนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล คลิก
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คลิก
แห่งการเรียนรู้
ไปกับ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ให้เราช่วยเลือกหลักสูตร คณะ สาขาหรือต้องการติดต่อกับเรา
ข้อมูลการศึกษา
ข้อมูลการสมัคร
ติดต่อมหาวิทยาลัย