Bangkok University Logo Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน
  • EN flag EN
Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน
ภาพรวม
เกี่ยวกับคณะ
สาขาวิชา
พันธมิตร
ผลงานนักศึกษา
สิ่งอำนวยความสะดวก
ศิษย์เก่า
กิจกรรม
อาจารย์พิเศษ
คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน

Featured Stories

คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน — ข่าวสารและบทความ — 9 อาชีพสายเศรษฐศาสตร์ ที่เป็นมากกว่านักลงทุน
Thu Oct 2021
25758 คนอ่านบทความนี้
9 อาชีพสายเศรษฐศาสตร์ ที่เป็นมากกว่านักลงทุน
ทุกวันนี้การเงินและการลงทุนถือเป็นเรื่องที่หลายๆ คนเริ่มให้ความสนใจ ใครอยากศึกษาเรื่องลงทุนแบบจริงจัง และสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ จับจังหวะการลงทุนให้ถูกที่ถูกเวลา ต้องเลือกเรียน คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ เรียนรู้เทรนด์เศรษฐกิจโลก ด้วยมุมมองเจ้าของกิจการ พร้อมโอกาสในการฝึกงานกับองค์กรระดับประเทศ

 

ทุกวันนี้การเงินและการลงทุนถือเป็นเรื่องที่หลายๆ คนเริ่มให้ความสนใจ ใครอยากศึกษาเรื่องลงทุนแบบจริงจัง และสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ จับจังหวะการลงทุนให้ถูกที่ถูกเวลา ต้องเลือกเรียน คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ เรียนรู้เทรนด์เศรษฐกิจโลก ด้วยมุมมองเจ้าของกิจการ พร้อมโอกาสในการฝึกงานกับองค์กรระดับประเทศ

 

เมื่อเรียนจบจะได้เจอกับเส้นทางอาชีพอีกมากมาย ที่ไม่ได้มีแค่นักลงทุนอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อให้ค้นหาความชอบ และตอบโจทย์อาชีพที่ใช่ วันนี้ได้รวบรวมอาชีพบางส่วน ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน รายได้สูง และไม่ตกงานอย่างแน่นอน จะมีอาชีพอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

 

 

 

 

 

อาชีพนักวางแผนการลงทุน หรือ IP ย่อมาจาก Investment Planner ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการลงทุนกับนักลงทุน โดยต้องวางแผนการลงทุน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก กำหนดกลยุทธ์แบบเจาะจง และกำหนดเป้าหมายในการลงทุน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้ มาใช้ประกอบคำแนะนำ เพื่อให้เกิดความแม่นยำและเกิดความเสี่ยงที่นักลงทุนสามารถยอมรับได้ คนที่จะทำอาชีพนี้ จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพและสอบผ่าน IP License หรือหลักสูตรตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด

 

 

 

 

 

 

 

อาชีพคนกลางที่ติดต่อระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น ธนบัตร หุ้น หรือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำงานอยู่ในบริษัทหลักทรัพย์ เช่น บลจ.กสิกรไทย บลจ.ทิสโก้ บลจ.ธนชาติ เป็นต้น มีหน้าที่ชักชวนให้ผู้ซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทหลักทรัพย์

 

 

 

 

 

 

 

ผู้แนะนำการลงทุน หรือ IC ย่อมาจาก Investment Consultant มีหน้าที่ขายหรือให้คำแนะแนะการลงทุน ต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญในการลงทุนประเภทนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ลงทุนไว้ใจ อาชีพนี้ทำงานในสังกัดผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนาคาร หรือบริษัทประกันชีวิต โดยจะต้องมีใบอนุญาตในการแนะนำการลงทุน หรือ IC license คือใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต

 

 

 

 

 

 

 

นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การเงิน การเกษตร หรือแรงงาน เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และต้องคอยศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากกฎหมายหรือนโยบายใหม่ๆ และต้องคาดการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคต มีแผนจำลอง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหานั้นได้ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจสามารถให้คำแนะนำทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้ และยังสามารถเป็นอาจารย์สอนในวิชาเศรษฐศาสตร์ได้อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

อาชีพของสายสะสมประสบการณ์ มีหน้าที่ ในการมองหาบริษัทที่น่าสนใจ เหมาะกับการนำเงินไปลงทุน เพื่อเป็นหุ้นส่วนในกิจการใดกิจการหนึ่ง และถือเป็นการลงทุนระยะยาวที่ได้ค่าตอบแทนคุ้มค่า ซึ่งการเป็นนักลงทุนต้องใช้ประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่อาจจะผลกระทบต่อธุรกิจ ภาพรวมของเศรษฐกิจและองค์กร รวมถึงต้องมีเงินมากพอ ที่จะเข้าร่วมถือหุ้นหรือลงทุนในองค์กรนั้นๆ ใครอยากเป็นนักลงทุนมืออาชีพ ต้องลองวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ หรือลองลงทุนระยะสั้น เพื่อสะสมความรู้ไว้ ก่อนลงทุนระยะยาว

 

 

 

 

 

 

 

ผู้จัดการกองทุน มีหน้าที่ดูแลการลงทุนของผู้ซื้อกองทุน ผ่านการบริหารการเงินที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ และจะได้รับค่าตอบแทนตามที่ตกลงไว้ สายงานนี้ต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และวางแผนค่อนข้างละเอียด ทำให้ได้ค่าตอบแทนสูงสุดๆ ส่วนใหญ่จะทำงานที่ บริษัททรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บริษัทประกันชีวิต ธนาคาร หรือข้าราชการในกองทุนของภาครัฐ โดยผู้จัดการจะถูกแบ่งให้จัดการตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น ผู้จัดการกองทุนตราสารต่างประเทศ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนตราทุน

 

 

 

 

 

 

 

นักวิเคราะห์การลงทุน หรือ Investment Analyst ทำหน้าที่วิเคราะห์การลงทุน และคาดการณ์ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะมี 2 ประเภท

1.นักวิเคราะห์เชิงปัจจัยพื้นฐาน เก็บข้อมูลแบบเจาะลึกในหลักทรัพย์ หรือธุรกิจ เพื่อสามารถคาดเดาการเติบโตของธุรกิจในอนาคต แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินมูลค่าตามความเหมาะสม พร้อมทั้งแนวโน้มการจ่ายเงินปันผลในอนาคต

2.นักวิเคราะห์ปัจจัยเทคนิค คือการใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อให้เข้าใจจุดซื้อและจุดขายของหลักทรัพย์ และทำให้ผู้ลงทุนได้ผลตอบแทนตามต้องการมากที่สุด

 

 

 

 

 

 

 

นักวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงิน ทำหน้าที่วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงินให้กับภาครัฐ เอกชน บริษัทสายการเงิน หรือธนาคาร เป็นต้น เพื่อไม่ให้องค์กรเสียผลประโยชน์ทางการเงิน เพราะองค์กรต่างๆ จะมีธุรกรรมทางการเงินเยอะมาก มีความเสี่ยงสูง และเกิดความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งปัจจุบันและอนาคต มีการประเมินสถานการณ์อยู่ตลอด พร้อมมีแผนสำรองเพื่อควบคุมความเสี่ยงให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หรือไม่ทำให้องค์กรเกิดความเสียหาย

 

 

 

 

 

 

 

วาณิชธนากร หรือ IB ย่อมาจาก Investment Banker คืออาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาทางการเงินให้กับลูกค้าที่ต้องการขยายกิจการ หรือหาพาร์ทเนอร์ร่วมลงทุนให้กับบริษัทที่ต้องการ ซื้อขายหลักทรัพย์ หรือแม้แต่การเตรียมบริษัทเข้าสู่ตลาดหุ้น อาชีพนี้จะต้องมีความรู้เรื่องธุรกิจพร้อมการเงินและการลงทุน ละเอียดรอบคอบ และอัปเดทข่าวสารเศรษฐกิจตลอดเวลา เพื่อสามารถให้ข้อมูลการลงทุนที่ครบและแม่นยำมากที่สุด

 

 

แชร์บทความนี้
ข่าวล่าสุด
รีวิว 4 ปี สู่นักเศรษฐศาสตร์มือโปร ลงทุนจริงตั้งแต่ปี 1 คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน ม.กรุงเทพ
09/05/2025
รีวิว 4 ปี สู่นักเศรษฐศาสตร์มือโปร ลงทุนจริงตั้งแต่ปี 1 คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน ม.กรุงเทพ
อยากเป็นนักเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์เก่งและไม่พลาดทุกการลงทุน คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรตอบโจทย์ น้องๆ ที่สนใจการเรียนเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ ฝึกการลงทุนเสมือนจริงตั้งแต่ปี 1 จากโปรแกรมจำลองเล่นหุ้น เรียนรู้จากอาจารย์และพาร์ทเนอร์ชั้นนำระดับประเทศ พร้อมผลักดันให้สอบใบประกอบวิชาชีพก่อนเรียนจบ เช่น IC Plain, IC Complex ใครอยากเป็น #เด็กECONBU ห้ามพลาด! รีบสมัครก่อนที่นั่งเต็มนะคะ ตามไปอ่านรีวิวกันได้เลย
BUECON ชวนเจาะลึกเส้นทางอาชีพสู่ที่ปรึกษาการเงิน กลุ่มลูกค้าลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) จากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
03/04/2025
BUECON ชวนเจาะลึกเส้นทางอาชีพสู่ที่ปรึกษาการเงิน กลุ่มลูกค้าลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) จากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ
Career Decoded: เส้นทางสู่อาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน กลุ่มลูกค้านักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth)
ฉลาดเก็บ ฉลาดใช้ Content Creator 2025 แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล
27/02/2025
ฉลาดเก็บ ฉลาดใช้ Content Creator 2025 แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ หลักสูตรการวางแผนการเงินและการลงทุน คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ คณะนิเทศศาสตร์ และศูนย์บริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดกิจกรรมพิเศษภายใต้หัวข้อ "ฉลาดเก็บ ฉลาดใช้ Content Creator 2025"
ท้าฝีมือนักลงทุนรุ่นใหม่ BU แข่งสร้างพอร์ตการลงทุนผ่านแพลตฟอร์ม
20/02/2025
ท้าฝีมือนักลงทุนรุ่นใหม่ BU แข่งสร้างพอร์ตการลงทุนผ่านแพลตฟอร์ม
คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน หลักสูตรการวางแผนการเงินและการลงทุน หลักสูตรการเงิน คณะบริหารธุรกิจ และฝ่ายกิจการต่างประเทศ ร่วมกันจัดโครงการแข่งขันสร้างพอร์ตการลงทุนและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการเงินยุคใหม่
การสมัครเรียน
คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน
ทุนการศึกษาที่สามารถขอได้
ค่าเทอมที่ต้องชำระ
หลังจากหักส่วนลดทุน กยศ.
สาขาที่เปิดรับสมัคร
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
Economics
การเตรียมตัว
ใช้เกรดเฉลี่ยสะสม 4 ภาคการศึกษาขึ้นไป ยื่นสมัครเรียนได้ทันที
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาคาร A7 ชั้น 2
9/1 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน ต. คลองหนึ่ง อ. คลองหลวง ปทุมธานี 12120
ดูแผนที่
โทรศัพท์
02 407 3888 ต่อ 2375, 2376
แฟกซ์
02 407 3999
หน้าหลัก
หลักสูตร
คณะเศรษฐศาสตร์และการลงทุน
ข่าวสารและบทความ
9 อาชีพสายเศรษฐศาสตร์ ที่เป็นมากกว่านักลงทุน
Bangkok University Logo
ข้อมูลมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ ม.กรุงเทพ ข่าวสาร ปฏิทินการศึกษา สมัครเรียน ค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษา นักศึกษาปัจจุบัน คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แผนที่มหาวิทยาลัย ติดต่อเช่าสถานที่ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัย ร่วมงานกับเรา
สำหรับนักศึกษา BU URSA BU Links สำหรับบุคลากร MyBU
Copyright © 2025 Bangkok University. All rights reserved.
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เกี่ยวกับการใช้งานคุ้กกี้
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกรณีทั่วไป