คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 เป็นคณะที่ 11 ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายในเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 ในชื่อของภาควิชาการออกแบบภายใน
ศาสตร์และศิลป์ที่สร้างสรรค์จากความเข้าใจบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสภาพแวดล้อม ผสมผสานและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนานาชาติ นำไปสู่การสร้างทัศนคติที่เปิดกว้างแก่นักศึกษาสถาปัตยกรรมในฐานะสถาปนิกและนักออกแบบในอนาคต สอดคล้องกับบริบทแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนการเพิ่มพูนองค์ความรู้และคุณภาพในระดับสากล และยังคงภาคภูมิใจในศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย
School Emblem and Colors
ปรัชญา/ปณิธาน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีปรัชญาที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ“บัณฑิตต้องมีความรู้คู่ความดี มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ ที่สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข”โดยปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความพร้อมในการทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการออกแบบในระดับสากล มีความรู้ความเข้าใจต่อกลไก ระบบและทิศทางในอนาคตของงานบริการวิชาชีพ ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง องค์กรวิชาชีพและสังคมทั้งในระดับองค์กร ชาติและสากล
วิสัยทัศน์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการเป็น “สถาบันการศึกษาสร้างสรรค์ มีคุณภาพและเป็นผู้นำ”โดยมุ่งที่จะเป็นสถาบันการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยและบูรณาการศาสตร์และศิลป์ทั้งจากอดีตและปัจจุบัน รวมถึงการเป็นศูนย์รวมการสร้างสรรค์ การวิจัย และสร้างบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีความพร้อมในการทำงานวิชาชีพและมีความพร้อมสู่การเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน (AEC)
พันธกิจ
พันธกิจสอดคล้องร่วมกับพันธกิจของสถาบันคือการพัฒนาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ให้เป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพ เป็นผู้นำในการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบในประเทศไทยและมีความยั่งยืน
- พัฒนาหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย ทันสมัย เป็นสากล สนับสนุนการมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานในวิชาชีพสถาปัตยกรรม โดยเน้นการสร้างและเชื่อมโยงความรู้แบบองค์รวม ความสามารถในการสื่อสารและออกแบบ รวมไปถึงการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ
- สร้างและพัฒนานักสร้างสรรค์และนักวิจัย รวมทั้งส่งเสริมการผลิตผลงานให้ได้คุณภาพ ระดับสากล เพื่อเป็นศูนย์รวมด้านการสร้างสรรค์และการวิจัย
- พัฒนาปัจจัยเกื้อหนุนต่อกระบวนการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีอื่น ๆ พร้อมทั้งกระตุ้นให้คณาจารย์นำมาใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยสามารถแข่งขันได้
- ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจและชุมชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
- ขยายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและองค์กรชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน
- สืบสานพัฒนาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย