Bangkok University Logo Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน
  • EN flag EN
Bangkok University Logo
หลักสูตร
รอบรั้ว ม.กรุงเทพ
ข่าวสาร
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย
สมัครเรียน

Featured Stories

ข่าวสารและบทความ — 5 ตัวแทนนักศึกษาม.กรุงเทพ คว้าทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เวทีระดับชาติพลังคนรุ่นใหม่เพื่อโลกยั่งยืน
01/07/2025
40 คนอ่านบทความนี้

5 ตัวแทนนักศึกษาม.กรุงเทพ คว้าทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เวทีระดับชาติพลังคนรุ่นใหม่เพื่อโลกยั่งยืน

ขอแสดงความยินดีกับ 5 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับคัดเลือกเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย รุ่นที่ 20 หรือ Young Thai Science Ambassador, (YTSA#20) จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ YTSA

 

โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 ขึ้น (Young Thai Science Ambassador #20) จัดเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกำหนดให้เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแง่มุมต่างๆ ในหัวข้อ “หมุนเวียนและยั่งยืน คืนชีวิตให้โลก – Net Zero and the Circular Economy” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ท้าทายและมีความสำคัญต่ออนาคตของโลก ภายใต้แนวคิดการจัดการปกป้องสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ 

ชวนอ่านเรื่องราวของทั้ง 5 นักศึกษา BU-ITI กับความสนุกที่พวกเขาได้เป็นตัวแทนทูตเยาวชนผ่านผลงานสุดเจ๋งที่ต้องขอยกนิ้วโป้งให้ในความสร้างสรรค์

 

 

ขอเริ่มต้นด้วยพี่ซีเนียร์ 2 สาว น.ส.จีรนันท์ ปรากฏหาญ (เคท) และ น.ส.อารยา ใช่ 
(ป๊อปแป๊ป) นักศึกษาสาขาวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์  ควงแขนกันมาเล่าถึงจุดเริ่มต้นโครงการว่าเคท: รู้จักโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 1 จากทั้งรุ่นพี่และอาจารย์ที่แนะนำ ตอนนั้นเคทสนใจมากแต่ยังจัดสรรเวลาได้ไม่ดีเลยยังไม่ได้สมัคร พอขึ้นปี 3 รู้สึกว่าตัวเองมีวินัยในการบริหารเวลามากขึ้นและเริ่มมองหากิจกรรมที่ช่วยเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ เลยกลับมาสนใจโครงการนี้อีกครั้ง ยิ่งได้ยินคนรอบตัวพูดถึงบ่อยๆ ว่า โครงการนี้ดีเหมาะกับเราก็ยิ่งรู้สึกว่าอยากลองดูสักครั้ง เพราะโดยนิสัยเคทชอบกิจกรรมที่ได้เจอคนเยอะๆ ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกับคนหลากหลาย และโครงการนี้ดูจะตอบโจทย์ทั้งในแง่ของเนื้อหาและบรรยากาศเลยค่ะ โครงการดีๆ แบบนี้จะไปคนเดียวได้อย่างไรจึงชักชวนเพื่อนสนิทป๊อปแป๊ปมาร่วมโครงการด้วย, ป๊อปแป๊ป: ส่วนตัวไม่ใช่คนที่ชอบทำกิจกรรม แล้วไม่ทำกิจกรรมเลย เรียกว่าเป็น introvert เลยก็ได้ค่ะ ไม่ชอบพูดคุย ขี้อาย ขี้กลัว ตั้งแต่เข้ามาตอนนี้อยู่ปี 3 แล้วยังไม่เคยออกจาก  Comfort zone ของตัวเองเลยค่ะ แล้วเห็นว่าจะจบแล้ว เลยอยากลองท้าทายตัวเองดูค่ะ ว่าตัวเองทำได้แค่ไหน แล้วสามารถไปได้แค่ไหน เลยตัดสินใจตอนเคทมาชวนเป็นวันก่อนวันสุดท้าย 1 วันไม่คิดว่าจะติดเข้ารอบ 3 เลยค่ะ แป๊ปก็เลยทำส่งไปแบบไม่ได้หวังอะไร

 

 

มหัศจรรย์แห่งการเรียนรู้

เคท: สิ่งแรกที่เคทได้เรียนรู้เลยคือ ความหมายที่แท้จริงของ“นักสื่อสารวิทยาศาสตร์” ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการเคทเข้าใจแค่ว่าเป็นคนที่พูดเรื่องวิทยาศาสตร์ให้คนฟัง แต่พอได้เรียนรู้จริงๆ ก็เข้าใจมากขึ้นว่า นักสื่อสารวิทยาศาสตร์คือคนที่สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน แล้วเล่าเรื่องเหล่านั้นออกมาในแบบที่คนทั่วไปเข้าใจง่าย รู้สึกสนใจ และเข้าถึงได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ศัพท์ยากๆ หรือวิธีอธิบายที่ซับซ้อนนอกจากนี้ยังได้เรียนรู้กระบวนการเตรียมข้อมูลเพื่อการสื่อสาร เช่น จะเริ่มจากการตั้งคำถามหรือประเด็นก่อน แล้วค่อยหาข้อมูล หรือบางครั้งอาจเริ่มจากการเจอข้อมูลที่น่าสนใจ แล้วค่อยตั้งประเด็นก็ได้ ทั้งหมดนี้ช่วยให้เคทฝึกคิดเป็นระบบมากขึ้น ไม่ใช่แค่สื่อสารให้ได้แต่สื่อสารให้ “ดี” และ “มีเป้าหมาย” อีกส่วนที่ประทับใจมากคือการได้ไป ThaiPBS ค่ะ เพราะเราได้เรียนรู้เรื่องการใช้ Data Visualization หรือการเล่าเรื่องด้วยภาพ ไม่ใช่แค่สวยอย่างเดียว แต่ต้องสื่อความเข้าใจให้คนดูด้วย ได้เห็นตัวอย่างงานจริงที่ ThaiPBS ใช้ซึ่งมันช่วยให้เราเห็นภาพว่าเวลาเราจะเล่าเรื่องอะไรสักอย่างโดยเฉพาะเรื่องวิทยาศาสตร์ที่อาจซับซ้อนถ้าเราทำให้เห็นเป็นภาพหรือแผนภูมิที่ดี คนจะเข้าใจง่ายขึ้นเยอะมาโดยรวมแล้วโครงการนี้สอนให้เคทคิดอย่างมีระบบ มีขั้นตอนและรู้จักวางแผนในการสื่อสารมากขึ้นค่ะ ไม่ใช่แค่พูดเก่งอย่างเดียว แต่ต้องคิดก่อนว่าเรากำลังจะเล่าอะไร ให้ใครฟังและเล่าแบบไหนถึงจะเหมาะที่สุด

ป๊อปแป๊ป: โครงการนี้เป็นโครงการเกี่ยวกับการสื่อสารวิทยาศาสตร์ แป๊ปได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพูด Present เทคนิคการแสดงสีหน้าตอน Present เทคนิคการทำ Infographic วันที่ 1 ทำความรู้จักเพื่อนๆ และพี่ๆ ที่มาเข้าร่วมโครงการ ฟังหัวข้อที่พวกเราต้องทำแล้วนำเสนอเดี่ยวในวันสุดท้ายค่ะ จากนั้นทำกิจกรรมกันนิดหน่อย มีการจัดกลุ่มที่จะทำกิจกรรมด้วยกันตลอดโครงการ วันที่ 2 เป็นวันที่เหนื่อยมากค่ะ พวกเราต้องรีบทำผลงานส่งให้ทันก่อนเที่ยงคืน เรื่องใหญ่ก็คือ แป๊ปเคยทำ  Infographic แต่ไม่เคยทำแบบเป็นจริงเป็นจังขนาดนี้ ซึ่งข้อมูลทุกอย่างต้องมีผลของงานวิจัยมารองรับทำให้แป๊ปในเวลานั้น ตื่นตระหนกมากค่ะ ตอนแรกแป๊ปไม่คิดว่าจะผ่านเข้ารอบ หัวข้อในตอนนั้นของแป๊ป ตอนไปพูดคุยกับพี่ในโครงการทำให้แป๊ปต้องมีการปรับเปลี่ยนหัวข้อแต่สุดท้ายงานที่ทำก็ส่งทันค่ะ แต่ก็ยังมีการที่เราต้องเตรียมตัวนำเสนอผลงานของตัวเองค่ะ วันที่ 3 เป็นวันที่พวกเราต้อง Present งานค่ะ แป๊ปตื่นมาตอน ตี 4 เพื่อมาจำบทที่จะต้อง Present ซึ่งตอนนั้น ตื่นเต้น กลัว ตัวสั้นไปหมดเลยค่ะ กลัวไปหมดเลย พอถึงเวลา แป๊ปก็ขึ้นไป  Present งานค่ะซึ่งก็ผ่านมาได้ดี

 

 

โชคดีจังที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ

เคท: โครงการนี้ให้อะไรมากกว่าที่เคทคาดหวังไว้ค่ะ ไม่ใช่แค่ความรู้หรือประสบการณ์เท่านั้น แต่ยังให้ “ความมั่นใจ” ในตัวเองด้วย ก่อนหน้านี้อาจจะยังไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถสื่อสารเรื่องที่จริงจังหรือเป็นเชิงวิชาการได้ดีมั้ย เพราะปกติเราจะชอบคุยกับเพื่อนแบบสบายๆ หรือเล่าเรื่องแนวความรู้สึก แต่พอได้เข้าร่วมโครงการนี้ได้ลองนำตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องสื่อสารอย่างมีเป้าหมาย เช่น ต้องอธิบายเรื่องสุขภาพจิตและสิ่งแวดล้อมให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายภายใต้เวลาจำกัด ทำให้ได้ฝึกวางโครงเรื่อง ฝึกคิดอย่างเป็นระบบและฝึกพูดอย่างตั้งใจมากขึ้น อีกอย่างที่ได้คือ “แรงบันดาลใจ” จากเพื่อนๆ ในโครงการค่ะ ทุกคนเก่งกันคนละแบบ บางคนคิดคอนเทนต์เก่ง บางคนพูดเก่ง บางคนมีความรู้เฉพาะทาง แล้วเราก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดกันตลอด ซึ่งมันทำให้รู้ว่า การสื่อสารวิทยาศาสตร์ไม่มีรูปแบบเดียว ทุกคนมีวิธีเล่าเรื่องของตัวเอง ขอแค่มีใจอยากแบ่งปัน และเข้าใจผู้ฟัง เราก็สามารถเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้เหมือนกัน สุดท้ายคือ โครงการนี้ทำให้รู้ว่า การสื่อสารไม่ใช่แค่ทักษะ แต่เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราสื่อสารดี เรื่องยากก็กลายเป็นเรื่องใกล้ตัวและมันอาจช่วยให้ใครบางคนเข้าใจบางเรื่องในชีวิตได้ดีขึ้น

ป๊อปแป๊ป: อย่างแรกเลยคือเรื่องประสบการณ์ค่ะ แป๊ปได้ทำในสิ่งที่แป๊ปไม่คิดว่าตัวเองจะสามารถทำได้ นั้นคือการ Present ในโครงการที่ใหญ่ เวทีที่ใหญ่ขนาดนี้ ถึงแม้ว่าตอนที่ Present งาน แป๊ปจะ Present ได้ไม่ดีเลย ตอนนั้นรู้สึกแย่มากค่ะ พอลงมาพี่ในโครงการบอกว่า ไม่เป็นไร นี้เป็นโครงการแรกๆ ในวัยของน้อง ถ้าถึงเวลาที่น้องอายุเท่าพี่ น้องก็สามารถ  Present ได้แน่นอน โครงการนี้ทำให้แป๊ปได้เห็นสถานที่ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วทำให้แป๊ปได้รู้ขีดความสามารถของตัวเองแล้วนำมาพัฒนาตนเองต่อไปได้ค่ะ

ผลงานแห่งความภูมิใจPride-worthy Works

 

เคท: ผลงานชื่อว่า ปลูกเพื่อใจ ปลูกเพื่อโลก ทำผลงานชิ้นนี้โดยเชื่อมโยงระหว่าง “สุขภาพจิต” และ “สิ่งแวดล้อม” จากการสังเกตและค้นคว้าพบ insight ที่น่าสนใจว่าสภาพแวดล้อมรอบตัวมีผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตของคนเรา เมื่อผู้คนอยู่ในพื้นที่ที่มีต้นไม้หรือธรรมชาติพวกเขาจะรู้สึกสงบและผ่อนคลายมากขึ้นผลงานนี้จึงเน้นแนวคิด “การบำบัดจิตใจผ่านธรรมชาติ” โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้จิตใจแจ่มใสขึ้น แต่ยังช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ถือเป็นการดูแลทั้งตัวเองและโลกในเวลาเดียวกันค่ะ เคทเลือกทำหัวข้อนี้เพราะเป็นคนที่สนใจเรื่องสุขภาพจิตอยู่แล้ว และชอบทำงานที่เกี่ยวกับผู้คนพอได้เจอโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เลยอยากนำสิ่งที่เราถนัดมาผสมผสานกับความรู้ใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ทั้ง “มีความหมาย” และ “มีผลต่อใจคน” 

 

 

ป๊อปแป๊ป: ผลงานชื่อ : Platform เกี่ยวกับอะไร: งานของแป๊ปเป็นงาน เกี่ยวกับว่า AI ทำอะไรได้บ้าง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกเราเจอเรื่อง สภาพอากาศเปลี่ยนไปเยอะมาก จนต้องรีบหาทางแก้กันยกใหญ่ เรื่องนี้มาจากงานวิจัยที่ชี้ว่า AI เนี่ย ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาไปสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ได้จริง โดยจะต้องใช้ AI แบบที่ยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศและเชื่อมโยงกับการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ก็เพราะว่าตอนนี้โลกเรากำลังมีปัญหาคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งสูงปรี๊ด ทำให้เราต้องมองหาวิธีแก้ปัญหาหลายๆ แบบ และ AI ก็กำลังกลายเป็น เครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน และพาเราไปสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ให้ได้ พื้นฐานของเรื่องนี้คือ เราทุกคนตระหนักดีว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนไปมันน่ากลัวแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อนขึ้น อากาศแปรปรวน พืชสัตว์ล้มตาย และเป็นภัยต่อสุขภาพของเรา รัฐบาล องค์กร และทุกคนเลยเห็นตรงกันว่า ต้องรีบลงมือทำเดี๋ยวนี้เพื่อสู้กับความท้าทายเหล่านี้

 

 

ฟังพี่ๆ เล่าไปแล้วมาถึงคราวน้องๆ ทั้ง 3 คนที่ใจตรงกันโดยมิได้นัดหมาย ให้มาเข้าร่วใมโครงการนี้ น.ส.กันติชา บุญส่ง (วุ้นเส้น) นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, น.ส.ชาณิตา นุชนาท (ควีน) นักศึกษาสาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ และนายจิรภัทร ดีสาระ (ปุย) นักศึกษาสาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ

วุ้นเส้น: พอดีวุ้นเป็นรองประธานสาขา.และควีนเป็นประธานสาขา เราจึงสนิทและเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่นั้น มีวันนึงเป็นที่วุ้นไปช่วยอาจาร์ยดูแลงานในคณะระหว่างกิจกรรมดำเนินอยู่  วุ้นก็เดินมาเจออาจาร์ยท่านนึงกำลังคุยกับควีน  วุ้นเลยทักทายปกติ พูดคุยไปๆ มาๆ อาจาร์ยก็ชวนร่วมโครงการนี้ค่ะ หลังจากอาจาร์ยชวน วุ้นก็กลับไปคิดดูก่อน เพราะว่าตอนทราบรายละเอียดโครงการนี้ รู้สึกประหม่าพอสมควร เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองจะทำได้ไหม พูดต่อหน้าคนมากๆ ไม่ค่อยเก่ง เคยกลัวการจับไมค์ชนิดที่ว่า ซ้อมมาอย่างดี พอจับไมค์ปุ๊ปร้องเพลงแข่งหรือพูดไม่ออกเลย เป็นคนขี้ตื่นเต้น 

ควีน: อาจารย์เข้ามาชวนตอนควีนกำลังจะส่งงานท้ายคาบค่ะ อาจารย์บอกว่าอยากให้ลองดูเลยตกลงที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ค่ะ เห็นทางอาจารย์บอกว่ามีคนจะมหาลัยอื่นๆ เข้าร่วมด้วย ทางบ้านควีนพร้อมสนับสนุนค่ะ และ ตัวควีนเองก็อยากลองทำโครงการบ้างเลยเข้ารวมโครงการนี้โดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำกิจกรรมอยู่แล้วค่ะ

ปุย: ตอนนั้นเป็นตอนท้ายคาบของวิชา Fundamental Calculus ครับ อาจารย์กฤศวรรณ เป็นคนที่แนะนำโครงการนี้แล้วก็ชวนให้ผมได้ไปสมัครครับ แล้วก็บอกว่าโครงการนี้เป็นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ผมเลยสนใจและก็ตอบรับคำเชิญของอาจารย์เขาและก็ได้ศึกษารายละเอียดต่างๆ ของทางโครงการและก็สมัครดูนะครับ เพราะว่าโอกาสดีๆแบบนี้ไม่ได้มาบ่อยๆ ถ้าปล่อยผ่านไปผมคงเสียดายแย่เลย เพราะว่าผมสนใจในทางวิชาวิทยาศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้วและก็ทางโครงการนี้เขาทำหัวข้อเกี่ยวกับ Net zero และการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่ได้รู้จักหรือมีความรู้เลยในตอนแรกที่ได้รู้จักเรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกถึงความท้าทายก็เลยศึกษาข้อมูลดูและก็นำเสนอข้อมูลที่ศึกษามาได้ผสมกับความรู้ในสิ่งที่เราชอบเช่น พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ของ Solar cell พอนำเสนอไปก็รู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ทำไปแล้วก็รู้สึกว่าได้ทำดีที่สุดแล้วครับ

 

 

มหัศจรรย์แห่งการเรียนรู้

วุ้นเส้น: วันที่ 1 ทางโครงการให้เราเล่นกิจกรรมสันทนาการต่างๆ เพื่อทำความรู้จักเพื่อนคนอื่นมากขึ้น มีเข้า meet ฟังบรรยายข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากวิทยาการต่างชาติ หลังจากนั้นก็เป็นการสุ่มเพื่อจับกลุ่ม ทำกิจกรรมต่างๆ  และให้คิดหัวข้อเรื่องและรายละเอียดคร่าวๆ วันที่ 2 ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มที่สุ่มเมื่อวานค่ะ เริ่มทำผลงานเดี่ยว ส่งให้ทันก่อน 23:00 แต่ด้วยความที่โจทย์ปีนี้ เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ไม่คุ้นกับการทำอินโฟกราฟิก (ยกเว้นวุ้นและเพื่อนๆ พี่ๆ บางคนจากม.เรา ที่คุ้นชิน อุอิ^^)  และปัญหาอื่นๆ ทางโครงการจึงยืดเวลาให้ถึงเที่ยงคืน แต่สงครามทำงานมารธอนนี้ยังไม่จบ เพราะพรุ่งนี้เช้า เราทุกคนต้องขึ้นนำเสนอเวทีใหญ่ คิดในใจ OMG ฉันจะได้นอนไหม ความจำยิ่งไม่ค่อยดี แถมล่กอีก ด้วย555 เราทุกคนหลังส่งผลงานก็แยกย้ายกัน หลังจากนั้นวุ้นก็ เริ่มทำความเข้าใจ และพยายามจำข้อมูล และเตรียมพร้อมเพื่อตอบคำถามคณะกรรมการ วุ้นได้นอนตี 4 กว่าๆ  เพื่อนข้างๆ เตียงวุ้นนอนตี 5 เลยค่ะ และ วันที่ 3 ตื่นเต้นมาก เพราะเขาสุ่มให้ขึ้นไปนำเสนอ แต่แล้วก็ถึงคิววุ้น และมันก็ผ่านไปได้

ควีน: วันแรกก่อนอื่นก็ได้ออกไปดูสถานที่ด้านนอก ทางวิทยากรก็อธิบายต่างๆ เกี่ยวกับหัวข้อที่จะทำ รูปแบบที่จะสื่อออกมา โดยให้เรียนรู้จาก คนที่ทำงานในด้านนี้โดยตรงเพื่อให้เห็นภาพ ได้คิดหัวข้อที่จุดเริ่มต้นที่จะทำวันต่อมาได้ทำกิจกรรมกลุ่มรวมกับคนจากคณะอื่นๆ ได้ลองออกสื่อหาข้อมูลในตึกลูกเต๋าตามหัวข้อ ที่ได้ ฝึกการออกเสียงและพูดคุยการใช้น้ำเสียงในการสื่อสาร และเริ่มทำผลงานที่จะต้องนำเสนอในวันพรุ่งนี้และวันสุดท้ายวันนำเสนอผลงานค่ะ ยอมรับตรงๆ ว่าเครียด เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้เรียนมาโดยตรงต่างจากคนอื่นๆ ที่เรียนทางด้านนี้ ก็เลยไม่ค่อยมีสติเท่าไหร่ วันสามจะเป็นการนำเสนอพร้อมกับประกาศรางวัลได้พบปะพี่ๆ ที่เข้าร่วมโครงการรุ่นก่อนๆ ค่ะ

ปุย: ในโครงการนี้เขาจะพาพวกเราไปรู้จักกับเทคนิคการสื่อสารปละแนะนำเสนอข้อมูลในแบบต่างๆ รวมถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสิ่งต่างๆ ในโลกปัจจุบัญของพวกเรา โดยที่ในวันแรกนั้นทางโครงการเข้าจะพาพวกเราไปที่ Thai PBS เพื่อเรียนรู้การนำเสนอข่าวและรวมไปถึงการค้นหาหัวข้อและข้อมูลที่น่าสนใจและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ รวมไปถึงเดินชมสถาณที่ทำงานส่วนต่างๆ ของ Thai PBS โดยที่ผมได้ทำการศึกษาและจดเทคนิคต่างๆ เพื่อที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการค้นคว้าและนำเสนอข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อที่จะนำไปใช้ในโครงการนี้่รวมไปถึงในอนาคต และ พากลับไปที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อทานข้าวและในช่วงบ่ายผมก็ได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการศึกษาวิทยาศาสตร์รวมไปถึงเทคนิคการสร้างผลงาน Infographic ที่ดีและรายละเอียดชิ้นงานของโครงการเพิ่มเติม ต่อจากนั้นก็มีอบรมแบบภาษาอังกฤษกับทางสถาบันเกอเธ่จากนั้นก็มีทำกิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนๆนะครับแล้วก็เขาจะมีเวลาส่วนตัวให้ออกแบบและพัฒนาผลงานของตัวเองครับ ในวันที่ 2 จะเน้นไปที่การทำกิจกรรมกับเพื่อนๆในโครงการตอนเช้าและก็เรียนรู้ถึงการใช้เสียงและก็เทคนิคดึงดูดผู้ฟังเพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพครับและก็ในช่วงบ่ายเขาจะปล่อยให้ทำโครงการให้เสร็จไปจนถึงช่วงค่ำเลยครับ ตอนนั้นผมก็คิดและก็พัฒนาโครงการตามความเข้าใจของตนเองและก็คอยไปขอคำแนะนำจากอาจารย์ท่านต่างๆ ในโครงการครับ ได้เรียนรู้เทคนิคในการออกแบบ infographic ที่ดีและหัวข้อที่น่าสนใจ ผมแม้ว่าจะไม่เคยทำ infographic มาก่อนแต่ก็ตั้งใจเต็มที่และส่งผลงานตามเวลาครับ ก็วันที่ 3 นั้นต้องทำการนำเสนอผลงาน ในขณะที่ตื่นเช้ามาเตรียมตัวเพื่อที่จะไปนำเสนอผลงาน ก็พบว่ามีเพื่อนๆในโครงการบ้างคนนั้นนอนบ้างและไม่ได้นอนบ้างเพื่อเตรียมบท scripts ที่จะนำเสนอผลงานให้กับคณะกรรมการในวันนี้ การนำเสนอผลงานของแต่ละคนนั้นดูดีมากและก็เขาจะทำการสุ่มเรียกคนไปนำเสนอบทเวทีครับ ผมได้คิวสุดท้ายก่อนไปทานข้าวเที่ยงพอดีและก็ตื่นเต้นเล็กน้อยแต่ว่าตอนพรีเซ็นต์ก็ทำเต็มที่ครับแม้ว่าจะพลาดไปบ้างแต่ก็รู้สึกที่ดีใจที่ได้เข้ามาเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ ในโครงการนี้ครับ

 

 

โชคดีจังที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ

วุ้นเส้น: โครงการนี้ทำให้วุ้นได้รู้ถึงศักยภาพและข้อผิดพลาดของตัวเองได้ดียิ่งขึ้นค่ะ ทำให้เรารู้สึกอยากพัฒนาตัวเองต่อไปเรื่อยๆ ได้ทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ จากผู้สมัครที่มาร่วม ได้ทำกิจกรรมสนุกๆ  แถมได้รางวัลน่ารัก

ควีน: อย่างแรกคือให้ประสบการณ์ ผลงานของคนที่เข้าร่วมโครงการเปิดโลกมาก เพราะบางอย่างตัวควีนยังไม่เคยได้ยิน มันทำให้ว้าวมากๆ และได้คอนเนคชันทั้งจากพี่ๆ วิทยากรและพี่ๆ เพื่อนๆ จากต่างมหาวิทยาลัย ทุกคนให้คำแนะนำดีมากๆ พร้อมช่วยเสมอเลย สุดท้ายได้ไอเดียหลายอย่างเลยค่ะสำหรับงานที่ตัวเองจะทำในอนาคต

ปุย: โครงการนี้ได้ให้ทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคต่างๆ ในการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยครับ แต่ที่สำคัญที่ได้เรียนรู้ก็คือการที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนๆในโครงการและก็มิตรภาพของทุกๆ คน 

ผลงานแห่งความภูมิใจ Works of Pride

 

วุ้นเส้น: ผลงานมีชื่อว่า Carbon Foot Print ผลงานนี้เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำของเราที่กำลังบอกถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่เราคิดและเราอาจยังไม่รู้ตัว  ซึ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไม่ใช่แค่การเผาขยะ เผาป่า หรือปล่อยให้รถของเราพ่นควันดำๆ ออกไปค่ะ

 

 

ควีน: ผลงานคือ Food Waste จากขยะสู่ทรัพยากรทดแทน เกี่ยวกับการนำอาหารที่เหลือทิ้งที่ไม่ใช้แค่แกลบ หรือพวกฟางข้าว ต่างๆ มาทำทรัพยากรทดแทน เราสามารถใช้ของเหลือ เช่น เปลือกไข่ ข้าวที่เหลือ มาทำได้ โดยผ่านกระบวนการไพโรซิส

 

 

ปุย: ผลงาน "รถ EV มีดีรักษาโลก" เป็นผลงานแนว infographic ที่บอกถถึงข้อมูลของรถ EV ว่าใช้แล้วดีอย่างไรและทำไมถึงต้องใช้รถ EV ซึ่งผลงานนี้นั้นผมได้แรงบันดาลใจมาจากการที่เห็นรถขนส่งและรถสาธารณะที่ยังใช้เป็นรถที่ปล่อนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทำร้ายสิ่งแวดล้อม ผมจึงนำเสนอเป็นการใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนนะครับ แล้วก็การใช้รถไฟฟ้านั้นเท่ากับว่าเราสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 248,000 ต้นต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 25 ล้านต้น

 

 

แชร์บทความนี้
ข่าวล่าสุด
ขอแสดงความยินดี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
03/07/2025
ขอแสดงความยินดี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
ศิษย์เก่าวิทยาลัยนานาชาติ หลักสูตร Communication Arts ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5 ตัวแทนนักศึกษาม.กรุงเทพ คว้าทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เวทีระดับชาติพลังคนรุ่นใหม่เพื่อโลกยั่งยืน
01/07/2025
5 ตัวแทนนักศึกษาม.กรุงเทพ คว้าทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เวทีระดับชาติพลังคนรุ่นใหม่เพื่อโลกยั่งยืน
ขอแสดงความยินดีกับ 5 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับคัดเลือกเป็นทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย รุ่นที่ 20 หรือ Young Thai Science Ambassador, (YTSA#20) จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ YTSA
เด็ก IMI ชนะรางวัลภาพถ่ายจาก vivoด้วยผลงานที่ผสานวิถีไทยร่วมกับเทคโนโลยี
26/06/2025
เด็ก IMI ชนะรางวัลภาพถ่ายจาก vivoด้วยผลงานที่ผสานวิถีไทยร่วมกับเทคโนโลยี
ขอแสดงความยินดีกับ นายต้นน้ำ วงศ์สำอาง คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวด vivo Academy: Capture the Future และได้รับคัดเลือกเป็น vivo Content Creator
ขอแสดงความยินดี 4 นศ. MCA-GC รับรางวัลผลงานวิจัย
19/06/2025
ขอแสดงความยินดี 4 นศ. MCA-GC รับรางวัลผลงานวิจัย
ขอแสดงความยินดีกับ Ms. Swopnil Shrestha, Mr. Zhiyuan Wang, Ms. Sun Xiayang และ Mr. Suravit Ratnich
Cosmetic Image
ก้าวเข้าสู่โลก
แห่งการเรียนรู้
ไปกับ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
พร้อมแล้วหรือยังที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ไปกับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ให้เราช่วยเลือกหลักสูตร คณะ สาขาหรือต้องการติดต่อกับเรา
  • หลักสูตรปริญญาตรี
  • หลักสูตรปริญญาโท
  • หลักสูตรปริญญาเอก
  • หลักสูตรนานาชาติ
  • สำหรับผู้ปกครอง

ข้อมูลการศึกษา

  • คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน คณะที่เปิดสอน
  • สิ่งอำนวยความสะดวก
  • ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา ปฏิทินการศึกษา

ข้อมูลการสมัคร

  • สมัครเรียน
    สมัครเรียน
    สมัครเรียน
    สมัครเรียน
    สมัครเรียน
  • ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน ค่าเล่าเรียน
  • วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร วิธีการสมัคร
  • ทุนการศึกษา
  • คำถามที่พบบ่อย คำถามที่พบบ่อย คำถามที่พบบ่อย คำถามที่พบบ่อย

ติดต่อมหาวิทยาลัย

  • เยี่ยมชม
  • กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย
  • ข้อมูลเกี่ยวกับศิษย์เก่า
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
Cosmetic Image
หน้าหลัก
Featured Stories
BU PRIDE
5 ตัวแทนนักศึกษาม.กรุงเทพ คว้าทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เวทีระดับชาติพลังคนรุ่นใหม่เพื่อโลกยั่งยืน
Bangkok University Logo
ข้อมูลมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ ม.กรุงเทพ ข่าวสาร ปฏิทินการศึกษา สมัครเรียน ค่าเล่าเรียน ทุนการศึกษา นักศึกษาปัจจุบัน คำถามที่พบบ่อย
ติดต่อเรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แผนที่มหาวิทยาลัย ติดต่อเช่าสถานที่ เยี่ยมชมมหาวิทยาลัย ร่วมงานกับเรา
สำหรับนักศึกษา BU URSA BU Links สำหรับบุคลากร MyBU
Copyright © 2025 Bangkok University. All rights reserved.
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เกี่ยวกับการใช้งานคุ้กกี้
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกรณีทั่วไป