Featured Stories
School of Information Technology and Innovation — Featured Stories — เด็ก IT ก้าวกระโดดขีดความสามารถ คว้านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี 2566
ขอแสดงความยินดีกับนายศักดิ์ชัย แซ่เฮ่ย (เหยียน) นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม รับรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2566 ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18 จัดโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างนักสื่อสารด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคมที่พร้อมผลักดันสังคมวิทยาศาสตร์ของประเทศให้เข้มแข็ง
ความเท่าเทียมในด้านวิทยาศาสตร์
“ผมได้รับรู้ข่าวของโครงการนี้ผ่านมาจากทางเพื่อนที่เคยไปร่วมกับทางโครงการเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ผมเกิดสนใจอยากลองลงแข่งขันในโครงการนี้บ้าง จึงเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการแล้วพบว่าโจทย์ปีนี้คือ ความเท่าเทียมในด้านวิทยาศาสตร์ จากหัวข้อนี้ผมจึงนึกถึงเรื่องใกล้ตัวและเป็ยนเรื่องจริงที่ทุกคนต้องประสบพบเจอเพื่อจะได้ตีความไม่เท่าเทียมที่ผมเห็นอยู่ทุกวันคือมีแก๊งค์ Call Center โทรหลอกลวงผู้คนหลอกให้โอนเงินตามที่มีข่าวออกมากมายมานานหลายปี จนถึงปัจจุบันยังคงใช้ลูกเล่นการหลอกลวงแบบเดิมๆ แต่อาจจะมีการเปลี่ยนเนื้อหาการหลอกบ้างแต่ยังคงใช้ได้ผลและหลอกผู้คนได้มากมาย ผมจึงคิดรายการ Podcast ที่มีชื่อว่า “เปิดโปงภัย ไซเบอร์” ขึ้นมาเพื่อลดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมด้านความรู้ ที่อาชญากรนำมาเอารัดเอาเปรียบและหลอกหลวงผู้ที่ไม่รู้ และเพื่อลดช่องว่างทางความรู้นี้จึงออกแบบรายการเพื่อให้ผู้คนได้รู้ทันอาชญากรที่มาในรูปแบบนี้”
เปิดโปงภัย ไซเบอร์ ตอน Call center
“ผมตั้งใจจะนำความรู้ที่ผมมีนำอธิบายถึงการโจมตี ในรูปแบบ Phishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต ว่าทำไมแก๊ง Call center ถึงใช้รูปแบบนี้ เป้าหมายการโจมตีเป็นคนแทนที่จะเป็นโทรศัพท์ของเรา รวมถึงวิธีการรับมือ และวิธีการสังเกตให้ทันต่อการหลอกลวงในทุกรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนมาตลอดเวลา อยากให้ทุกคนพร้อมตั้งรับให้ดีและมีสติทุกครั้งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้
ก้าวกระโดดพบศักยภาพใหม่ของตัวเอง
“ผมได้รู้ว่าตัวเองได้ก้าวกระโดดในเรื่องทักษะการสื่อสาร ผมได้นำองค์ความรู้ที่เป็นเรื่องลึกและยากที่เคยเรียนในวิชาเรียนมาผ่านการคิดวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งหัวใจของเนื้อหามาสื่อให้กับคนทั่วไปเข้าใจได้อย่างไร รวมถึงได้รู้ถึงศักยภาพของตัวเองในการเรียนรู้ ว่าจากที่ตัวเองไม่เคยทำ Podcast รายการเผยแพร่เสียงผ่านทาง Platform ออนไลน์ มาก่อน แต่ก็ศึกษาและลองมองเป็น Platform รูปแบบใหม่ซึ่งก็สามารถทำได้จนได้รับเลือกเป็น ทูตดีเด่น”